การสัญจรภายในเมืองที่ยั่งยืนโดยการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน

Main Article Content

เทอดพงศ์ บุญพันธ์
ชยาภรณ์ จตุรพรประสิทธิ์

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยและการจัดทำสมุดปกขาวเรื่องทำไมคนไทยไม่ปั่น ไม่เดินเท้า ในการเดินทางในชีวิตประจำวัน ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานความต้องการ พฤติกรรม ปัญหา และข้อจำกัดในการส่งเสริมการเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน เป็นการวิจัยแบบผสม (mixed  method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  โดยเริ่มจากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้จักรยานตั้งแต่อดีตและสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อเป็นฐานข้อมูลประกอบการวิเคราะห์พฤติกรรมชุมชนและผู้คนรวมถึงวิวัฒนาการการเดินเท้าและการใช้จักรยาน จากนั้นได้ทำการสำรวจเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามโดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน จากคนวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเชิงคุณภาพด้วยกิจกรรมสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Focus Group) เพื่อรับฟังความคิดเห็นที่มีต่อแนวทางในการส่งเสริมการเดินเท้าหรือการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันในเขต
           กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่าระยะทางและระยะเวลาในการเดินทางมีผลหลักต่อการตัดสินใจในการเดินเท้าและการใช้จักรยานเพื่อการเดินทางสำหรับผู้ที่อยู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยระยะทางไม่ควรเกิน 5 กิโลเมตร และระยะเวลาในการใช้การเดินทางไม่ควรเกิน 30 นาที
            ดังนั้น หากมีความประสงค์จะรณรงค์ หรือวางแผนโครงการส่งเสริมการเดินเท้าหรือใช้จักรยานในการเดินทางในชีวิตประจำวันนั้น รัฐควรเตรียมความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การท่องเที่ยวในชุมชน การส่งเสริมที่สามารถน าเสนอถึงประโยชน์ของการใช้เดินเท้าและการใช้จักรยานในด้านต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม นครเขตต์. (2557). การรับรู้ด้านสุขภาพและทัศนคติของประชาชนไทยต่อการเดินและการขี่จักรยาน.THE 2ND THAILAND BIKE AND WALK FORUM. ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย.

เทิดพงศ์ บุญพันธ์, กัญจนีย์ พุทธิเมธี และสายฝน โพธิสุวรรณ. (2565). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำสมุดปกขาว (white paper):ทำไมคนไทยไม่เดิน ไม่ปั่นจักรยานเดินทาง ในชีวิตประจำวัน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพภายใต้การดำเนินการของ มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย.

มณฑินี มีสมบูรณ์. (2559). สมรรถภาพทางกายของผู้ใช้บริการ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย กรมพลศึกษา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สัมภาษณ์กลุ่มย่อยภาคประชาชนกรุงเทพมหานคร. (2564). ผ่านระบบ Zoom Meeting เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2564.

Ajzen, I. (1985). From intentions to actions: A theory of planned behavior. In Kuh,J. & Beckmann, J. (Ed). Action Control (pp. 11-39). Heidelberg, Germany: Springer-Verlag.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1975). A Bayesian analysis of attribution processes. Psychological bulletin. 82 (2), 261.

Cochran, W. G. (2007). Sampling techniques. Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

Glanz K , Lewis FM , Rimer BK. (1997).Health Behavior and Health Education: Theory, Research, and Practice (2d ed.). San Francisco, CA, Jossey-Bass

GoodWalk Score. (2019). ทำไมต้อง "Walkable City". Online. Retrieved December 15, 2019. from http://goodwalk.org/.

Reynolds, C. C., Harris, M. A., Teschke, K., Cripton, P. A., & Winters, M. (2009). The impact of transportation infrastructure on bicycling injuries and crashes: A review of the literature. Environmental Health. 8 (1), 1-19.

The Urbanis. (2020). ทางเท้าของชาวเมือง : กรุงเทพมหานคร วันนี้ ‘เดินได้-เดินดี’ แล้วหรือยัง?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://theurbanis.com/mobility/09/01/2020/163

Uma Pupphachai. (2018). แนวคิดเมืองเดินได้. Online. December 15, 2019. Retrieved from https://umapupphachai. medium.com/walkable-city-cd0ccd99bcbc.