การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน วิชาแคลคูลัส 2 เรื่องการประยุกต์ใช้แคลคูลัสในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะ การใช้สื่อการสอนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Main Article Content

นรินทรา มิ่งโอโล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน วิชาแคลคูลัส 2  เรื่องการประยุกต์ใช้แคลคูลัสในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้สื่อการสอนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 2  เรื่องการประยุกต์ใช้แคลคูลัสในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดด้วยการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน และ 3) เพื่อศึกษาทักษะการใช้สื่อการสอนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน จำนวน 23 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน 3) แบบวัดทักษะการใช้สื่อการสอน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ทดสอบสถิติด้วยค่า t (t-test แบบ Dependent Sample)
          ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.87/81.09 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้            2) ความสามารถทางการเรียนรู้ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ทักษะการใช้สื่อการสอนหลังเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานดา คำมาก. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. Suranaree Journal of Social Science. 9 (1), 83 – 94.

ปรัชญ์ วีสเพ็ญ และ ชมพูนุท เมฆเมืองทอง. (2565). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสถิติวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 6 (1), 80-89.

ปิยะวดี กิ่งมาลา และ นันทพร บุญสุข. (2560). การพัฒนาบทเรียนเสริมคณิตศาสตร์พื้นฐาน รายวิชาแคลคูลัส 1 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. Veridian E-Journal Silpakorn University. 10 (2), 597 – 607.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สาธินี วารีศรี. (2563). การจัดการเรียนรู้วิชาแคลคูลัสของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 16 (1), 120-128.

สุวดี สารแสน. (2567). ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้เรื่องไฟฟ้าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่าน Google Classroom. วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู. 4 (1), 56-71.

Fitz - Gibbon and Carol, T. (1987). How to Design a Program Evaluation. Newbury Park : Sage.