สิทธิของคนพิการและข้อจำกัดในการได้รับสิทธิประโยชน์ของบัตรประจำตัวคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสิทธิของคนพิการ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของคนพิการตามกฎหมายต่างๆ ในประเทศไทยภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ.2006 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติของกฎหมายของประเทศไทย กำหนดให้เฉพาะคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการเท่านั้น ที่จะสามารถเข้าถึงสิทธิของคนพิการตามกฎหมาย จึงทำให้มีคนพิการจำนวนไม่น้อยที่สามารถเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายที่ตนเองควรจะได้รับ เนื่องจากติดปัญหา ทางด้านต่างๆ จึงไม่สามารถไปดำเนินการทำบัตรคนพิการหรือต่ออายุบัตรคนพิการ ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดได้ มีผลทำให้คนพิการที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เข้าถึงสิทธิของคนพิการเพื่อรับการบริการต่างๆ และได้รับการบริการต่างๆจากทางรัฐอย่างไม่ทั่วถึง หรือถูกจำกัดสิทธิในการเข้ารับบริการจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 4 บัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน ซึ่งในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว ควรมีนโยบายในการดำเนินการเชิงรุกโดยเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการลงพื้นที่เข้าหาชุมชน ประสานงานกับผู้แทนชุมชน เพื่อค้นหาบุคคลที่มีภาวะความพิการทางที่กฎหมายกำหนด และให้ความช่วยเหลือทางด้านต่างๆแก่คนพิการอย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ยังเป็นประโยชน์ทางด้านการพิจารณาความช่วยเหลือทางด้านต่างๆ ให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ในการดำเนินชิวิตของคนพิการอย่างเสมอภาคในสังคมต่อไป
Article Details
References
กฤษภณ โกยเต็ม. (2564). อนุสัญญาและกติการะหว่างประเทศและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับคนพิการในประเทศไทย. วารสารสังคมภิวัฒน์ JOURNAL OF SOCIAL SYNERGY คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 12 (1), 90-103
ชยากรณ์ กำโชค. (2565). เมืองไม่สะดวกยิ่งทำให้คนพิการรู้สึกเป็นอื่น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา: https://theurbanis.com/life/30/03/2022/6382
ดร. ณัฐวิคม พันธุวงศ์ภักดี, นิภัทรา นาคสิงห์. (2563). ผู้พิการในประเทศไทย และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืน– กับคุณเจนจิรา บุญสมบัติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.sdgmove.com/2018/04/30/gawa/
ธัญชนก ผิวคำ, รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย สุขสกุลชัย. (2560). การศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้พิการทางสายตาศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน จังหวัดนครปฐม A STUDY OF PROBLEMS AND NEEDS OF THE VISUALLY IMPAIRED PEOPLE AT VOCATIONAL TRAINING CENTERS IN THE STATE OF THE BLIND WOMAN OF SAMPRAN, NAKHON-PATHOM. วารสารสหเวชศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. 3 (2), 30-39.
นันทพร ระบิน. (2566). 3 ธันวาคม วันคนพิการสากล เพื่อโอกาสในการเข้าถึงทุกพื้นที่อย่างเท่าเทียม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา https://www.cmu.ac.th/th/article/61dde 89a-7a79-41e2-9638-99bf9c49f4a5
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2560). คนพิการกับโอกาสทางสังคม (Disabillity Person with Opportunity) ศูนย์วิชาการแฮปปี้โฮม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา https://www. happyhomeclinic.com/Download/article/dp01-opportunity.pdf
ปณิศา เอมโอชา. (2565). คนพิการกับโอกาสในการมีงานทำกับคนปกติในไทย ในปี 2565 ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-62311330
ผู้จัดการออนไลน์. (2565). Happy Family วันดีๆ ของ “คนพิการ” ที่ “พิพิธภัณฑ์ไทย”. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา https://dol.thaihealth.or.th/Media/Pdfview/f8e656b9-a842-ed11-80fa-00155db45626
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. (2550, 27 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 (ตอนที่ 61 ก), หน้า 8 - 24.
ภัทรกิต์ โกมลกิติ. (2551). ชีวิตและข้อจํากัดด้านการเดินทางของผู้พิการไทย. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 1 (1), 63 - 77.
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2551). อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disbilities (CRPD)). กรุงเทพมหานคร: ไอเดีย สแควร์