การวิจัยเชิงเอกสารเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ตามแนวคิดระบบบัญชาการเหตุการณ์

Main Article Content

กันต์ธสิทธิ์ พิมพ์สอาด
กีรติ ศรีประไหม
นที รื่นวิชา
ธีรพันธ์ ศรีเนาวรัตน์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและสังเคราะห์องค์ความรู้ตามแนวคิดระบบบัญชาการเหตุการณ์ จากหนังสือ เอกสาร ตำรา งานวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 1) คู่มือปฏิบัติการภาคสนามสำหรับผู้บัญชาการ 2) คู่มือระบบบัญชาการเหตุการณ์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับการจัดการในภาวะสาธารณภัย/ภัยพิบัติ 3) คู่มือการบัญชาการเหตุการณ์และมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในภาวะฉุกเฉินและสาธารณภัย 4) คู่มือแนวทางการปฏิบัติการกู้ภัยขององค์การสาธารณกุศล 5) ระบบบัญชาการเหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย 6) ระบบบัญชาการเหตุการณ์เครื่องมือการจัดการในภาวะฉุกเฉิน
            ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ตามแนวคิดระบบบัญชาการเหตุการณ์ที่สำคัญ ประกอบด้วย 4 องค์ความรู้ โดยแต่ละองค์ความรู้จะมีหัวข้อย่อย ดังนี้ 1) การจัดการในภาวะฉุกเฉิน มีหัวข้อ นิยามและความหมายการจัดการในภาวะฉุกเฉิน หลักการจัดการในภาวะฉุกเฉินตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ การจัดการในภาวะฉุกเฉินของกรุงเทพมหานคร แนวทางปฏิบัติกรณีสาธารณภัยเกิดขึ้น และแนวทางปฏิบัติในการจัดตั้งองค์กรปฏิบัติการจัดการในภาวะฉุกเฉินของกรุงเทพมหานคร 2) ระบบบัญชาการเหตุการณ์ มีหัวข้อ ความเป็นมาของระบบบัญชาการเหตุการณ์ และหลักการพื้นฐานของการจัดการในภาวะฉุกเฉินตามระบบบัญชาการเหตุการณ์ 3) โครงสร้างองค์กรระบบบัญชาการเหตุการณ์ มีหัวข้อ ผู้บัญชาการเหตุการณ์         ศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ร่วมหรือเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ประสานการปฏิบัติหรือเจ้าหน้าที่ประสานงาน และส่วนอำนวยการ ส่วนสนับสนุน 4) กระบวนการวางแผนในระบบบัญชาการเหตุการณ์ มีหัวข้อ ความสำคัญกระบวนการวางแผนเผชิญเหตุ กระบวนการวางแผนเผชิญเหตุ และแบบฟอร์ม ICS

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร. (2564). แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2564-2570. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.bangkokfire.go.th/category/บริการเอกสารและเผยแพร่/แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/.

กรมควบคุมมลพิษ. (2547). คู่มือปฏิบัติการภาคสนามสำหรับผู้บัญชาการ ณ ที่เกิดเหตุอุบัติภัยจากสารเคมี (Field Operations Guide). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www. pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/05/pcdnew-2020-05-25_03-13-07_565983.pdf.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2561). เอกสารสรุปผลการถอดบทเรียนภายหลังการปฏิบัติงาน (After

Action Review : AAR) การดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้สูญหาย ในวนอุทยานถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www. dla.go.th/upload/ebook/column/2019/3/2255_6062.pdf.

อังศุมาลิน อังศุสิงห์. (2566). ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Thailand Incident Command System) เครื่องมือการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย. นนทบุรี: บริษัท เวิร์ค พริ้นติ้งจำกัด.