การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเร็วปฏิกิริยาเคมี โดยใช้การคิดเชิงออกแบบร่วมกับการเรียนรู้แบบ POEE เพื่อส่งเสริม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาความสามารถในความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน 2.ประเมินความพึงพอใจในการเรียนรู้และ 3.ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการสอน กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 62 คน จากประชากร 257 คน ปีการศึกษา 2566 ได้มาจากการเลือกสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม กระบวนการการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการเรียนรู้แบบ Predict-Observe Explore-Explain (POEE) ถูกใช้เพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเร็วปฏิกิริยาเคมี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเร็วปฏิกิริยาเคมี จำนวน 5 แผน แบบสถานการณ์วัดความสามารถในความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังจัดการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจหลังจัดการเรียนรู้และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า 1.คะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยของนักเรียนหลังเรียนอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 พบว่าคะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อเทียบกับเกณฑ์
ร้อยละ 75 พบว่าคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยก่อนเรียนและเมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
ชฏารัตน์ เฮงษฎีกุล. (2566). ความคิดสร้างสรรค์ : เกิดขึ้นเองหรือพัฒนาได้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบุรี. 13 (2), 122-130.
ประพันธิ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. (1). กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
พีระพล ชินรัตน์. (2565). การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการสอนแบบ ทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: https://ir.swu.ac.th/ jspui/handle/ 123456789/27991
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2557). การวัดประเมินทางการศึกษา. ภาควิชาวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Ary, D., Jacobs, L.C., and Sorenson, C. (2010) Introduction to Research in Education. (1). USA: Wadsworth.
Kearney, M., Treagust, D. F., Yeo, S., and Zadnik, M. G. (2001). Student and teacher
perceptions of the use of multimedia supported predict–observe–explain tasks to probe understanding. Research in science education. 31, 589-615.