รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาเขตภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

พชรกมล คำไวย์
สถิรพร เชาวน์ชัย
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
จิตติมา วรรณศรี
สำราญ มีแจ้ง

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาเขตภาคเหนือตอนล่าง แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน 1) ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนฯ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน และสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 แห่ง 2) สร้างรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนฯ โดยการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนฯ โดยสอบถามจากผู้อำนวยการและครูผู้รับผิดชอบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 728 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ
           ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและแนวการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนฯ มี 2 ประการ ได้แก่ 1) ปัจจัยการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) กระบวนการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนมี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียน ด้านการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น ด้านอารมณ์ส่วนบุคคล และด้านสุขภาพร่างกาย 2. รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) กระบวนการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) ความสามารถในการปรับตัวของนักเรียน 3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนฯ พบว่า รูปแบบมีความเป็นไปได้อยู่ระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ประสิทธิ์ ทะเสนเฉด. (2549). การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สมายพริ้น.

ระวีวรรณ เพ็ชรคง. (2557). แนวทางพัฒนาปัจจัยและกระบวนการตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

วรรณา นิ่มวุ่น. (2549). การปรับตัวในการใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานคร ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนเทพลีลา เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร ุ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2546).คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุครุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

อภิสิทธิ์ รอดบำเรอ. (2559). รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 .วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว .ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2566. แหล่งที่มา: http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/ article/ view/7939.

อวยชัย ศรีตระกูล.( 2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสถานศึกษาสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อุไร ปัญญาสิทธิ์. (2560). รูปแบบการเสริมพลังเพื่อการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W., (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.