การพัฒนารูปแบบการนิเทศ SPIRE MODEL เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูในโรงเรียนอนุบาลแม่พริก (สุนันทสังฆประสิทธิ์)

Main Article Content

หทัยทิพย์ แก้วแสนตอ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศ SPIRE MODEL ที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูในโรงเรียนอนุบาลแม่พริก (สุนันทสังฆประสิทธิ์) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ คู่มือการนิเทศ SPIRE MODEL แบบประเมินผล แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบสนทนากลุ่ม ประชากรเป็นครูในโรงเรียน จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสรุปข้อมูลเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและบริบทของโรงเรียน (R1) ระยะที่ 2 พัฒนาและออกแบบรูปแบบการนิเทศ (D1) ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ (R2) และระยะที่ 4 ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศ (D2) ได้รูปแบบการนิเทศ SPIRE MODEL 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผนการนิเทศ (S) 2) การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจ (P) 3) การปฏิบัติการนิเทศ (I) 4) การสร้างเสริมกำลังใจ (R) และ5) การประเมินผลการนิเทศ (E) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.58, S.D. = 0.13) ผลการประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ในภาพรวมปีการศึกษา 2566 อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.77 ,  S.D. = 0.16, µ = 4.63 , S.D. = 0.16 ) และปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับมาก (µ = 4.35 , S.D. = 0.20, µ = 3.93 , S.D. = 0.27) ภาพรวมความพึงพอใจของครูต่อรูปแบบการนิเทศอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.55 , S.D. = 0.36) และผลการสนทนากลุ่มสามารถยืนยันรูปแบบการนิเทศ SPIRE MODEL ช่วยส่งเสริมให้ครูพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้มากขึ้น


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

จิรวรรณ ปรีชา. (2566). รูปแบบการนิเทศ PAORE เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน. งานนิเทศการศึกษา โรงเรียนร่มเกล้า จังหวัดกาญจนบุรี.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://drive.google.com/file/d/124Yat10YrSecn7idT8tKnLtmroR-O2Se /view

วราลักษณ์ อาจวิชัย. (2565). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วาสนา บุญมาก และ มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23 (2), 269 – 280.

ศิลา สงอาจินต์. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครตรัง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 10 (20). 160-175.

สิทธิพงศ์ อุดมทรัพย์. (2567). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนบ้านป่าแดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 12 (47). 243-253.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://www.obec.go.th/wp-content/uploads/2018/10/OBECPolicy62.pdf

Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (2010). Supervision and Instructional: A Developmental Approach. (8th ed.). Boston: Allyn&Bacon.