วัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติในยุคเทคโนโลยีพลิกผัน

Main Article Content

กานต์จิรา ลิมศิริธง
คมกริช ไพฑูรย์

บทคัดย่อ

          ยุคเทคโนโลยีพลิกผันนวัตกรรมที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและรุนแรง ส่งผลต่อตลาดของเทคโนโลยีเดิมหายไปอย่างถาวร เทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงโลก ยกตัวอย่าง อินเทอร์เน็ตไร้สาย เทคโนโลยีอัตโนมัติเพื่อการวิเคราะห์ อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง การประมวลผล เทคโนโลยีหุ่นยนต์ เทคโนโลยีวัสดุชาญฉลาด รวมถึงธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติเป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการจัดจำหน่ายและให้บริการเกี่ยวกับเครื่องอ่านบาร์โค้ดและระบบบาร์โค้ด ระบบการอ่านอักขระด้วยแสงโออาร์ซี ระบบชีวภาพ ระบบสมาร์ตการ์ด และระบบอาร์เอฟไอดี มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว กุญแจสำคัญของการเปลี่ยนแปลง คือไม่กลัวความล้มเหลว ความคล่องตัวสูงสุด ความทะเยอทะยานในเชิงบวก คำตอบที่มีประโยชน์ ยอมรับความเสี่ยง และการใช้ชีวิตร่วมกับการเปลี่ยนแปลง องค์การทางธุรกิจจึงต้องปรับตัวสร้างวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยวัฒนธรรมองค์การ ประกอบด้วย คุณลักษณะเด่น ผู้นำ การจัดการบุคลากร ผู้ประสาน ยุทธวิธี และเงื่อนไขแห่งความสำเร็จ ที่เอื้อให้เกิดเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้แห่งตน แบบแผนความคิด การมีวิสัยทัศน์ร่วม เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การคิดเชิงระบบ และใช้เทคโนโลยีคอยเชื่อมโยงส่งเสริมสนับสนุน ทั้งนี้การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างทางวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้แสดงให้เห็นถึงผลการจัดการเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรและผู้ประกอบการเป็นไปตามมาตรฐาน และสร้างความมั่นใจว่าสถานะทางธุรกิจมีรูปแบบเอกลักษณ์เฉพาะขององค์การที่พร้อมปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คมกริช ไพฑูรย์. (2566). รูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการภายในของธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติเพื่อรองรับ

ความพลิกผันของเทคโนโลยีในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

เจษฎา นกน้อย. (2560). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิดา จิตตรุทธะ. (2560). วัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เถลิงศก โสมทิพย์. (2555). บทพินิจหนังสือ : THE FIFTH DISCIPLINE The Art & Practice of the Learning Organization. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรใ 14 (2), 129-133.

ธนัญญา วสุศรีและกฤติกา มูลภักดี. (2556). การประยุกต์ใช้ระบบอาร์เอฟไอดีกับการจัดการศูนย์กระจายสินค้า: กรณีศึกษา บริษัทบุญถาวรเซรามิค จากัด. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. 9 (1), 21-32.

นวพล แก้วสุวรรณ ธัญญาลักษณ์ ใจเที่ยง และสิริกร บำรุงกิจ. (2563). การจัดการความรู้ เพื่อก้าวสู่องค์กรดิจิทัลในยุคเทคโนโลยีพลิกผัน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 40 (4), 120-135.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2565). การพัฒนาองค์การและการจัดการนวัตกรรม (Organization Development and Innovation Management). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.

บุษรา ประกอบธรรม. (2554). สร้างสรรค์สื่อทางธุรกิจกับ QR Code. วารสารนักบริหาร. 30 (4), 41- 47.

เบญจรัตน์ ควรเสนาะ. (2565). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์การของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปิยะ โควินท์ทวีวัฒน์. (2551). ความรู้เกี่ยวกับระบบบ่งชี้อัตโนมัติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา: http://home.npru.ac.th/piya/RFID/file/Piya_Ch1.pdf

พิชญา ฤกษ์สัจจนนท์ (2565). การชำระเงินด้วย QR code: ทางเลือกใหม่ของการชำระเงินในการซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://www.bot.or. th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/Article_15Jan2022.html

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2560). การเรียนรู้ลักษณะการจัดการ: การจัดการข้ามวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ดวงกมล.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2563). จิตวิทยาองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีบวร เอี่ยมวัฒน. (2561). แนวโน้มของ Disruptive Technology และความเป็นไปได้ของรูปแบบธุรกิจในอนาคตของเครื่องถ่ายเอกสารในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์การศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2559). เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2567 แหล่งที่มา: https://www.it24hrs.com/2016/disruptive-technologies-technology/

สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2564). การบริหารสู่องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์

สุรยุทธ บุญมาทัต. (2562). วัฒนธรรมองค์การที่เหมาะสมกับยุคไทยแลนด์ 4.0 : ส่วนประกอบวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการปรับปรุงสมรรถนะขององค์การ. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 6 (2), 164-165.

อัจฉรา กิจเดช และ กิตติศักด์ิ แก้วบุตรดี. (2561). QR CODE.ในประเทศไทยและการประยุกต์ใช้ภายในโรงพยาบาลในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 5 (2), 51-59.

Iberdrola Group (2024). Disruption in technology. Online. Retrieved 10 March 2024. From: https://www.iberdrola.com/innovation/disruption-technology.

Richard N. Holifield, Jr. Major, USAF. (2010). Tracking Next-Generation Automatic Identification Technology into 2035, Air University Press is collaborating with JSTOR to digitize, preserve and extend access to this content. URL: http://www.jstor.com/stable/resrep13706

Schein, E. H. (2017). Organizational Culture and Leadership (5th Edition). New Jersey: John Wiley & Sons.

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. London: Century Press.