แนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ สาขาวิชาภาษาไทย ของมหาวิทยาลัยในมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

Main Article Content

เซี่ยง เสี่ยวเยี้ยน
วราภรณ์ ไทยมา
สิรินธร สินจินดาวงศ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ 2) สร้างแนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน 3) ประเมินแนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีพหุระยะ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารและอาจารย์ สาขาภาษาไทย วิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยในมณฑลยูนนาน จำนวน 102 คน และสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า และแบบประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการได้แก่ด้านบริหารเครือข่ายความร่วมมือคือ คุณลักษณะผู้นำ การปฏิบัติงานเครือข่าย และกิจกรรมเสริมการปฏิบัติงานเครือข่าย และด้านบริหารวิชาการคือ บริหารหลักสูตร การเรียนการสอน วัดผลประเมินผล พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา นิเทศภายในสถานศึกษา และวิจัยและพัฒนา 2) แนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการคือ 1. บริหารเครือข่ายความร่วมมือมี 3 แนวทางคือ คุณลักษณะของผู้นำ การปฏิบัติงานเครือข่าย และกิจกรรมเสริมการปฏิบัติงานเครือข่าย 2. บริหารวิชาการคือ บริหารหลักสูตร การเรียนการสอน วัดผลประเมินผล พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา นิเทศภายในสถานศึกษา และวิจัยและพัฒนา 3) ผลการประเมินแนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือ ด้านคุณลักษณะของผู้นำ เป็นไปได้สูงสุด µ = 4.63 ด้านการปฏิบัติงานเครือข่ายเป็นประโยชน์และถูกต้องสูงสุด µ =4.75 เท่ากัน ด้านกิจกรรมเสริมการปฏิบัติงานเครือข่าย ถูกต้องสูงสุด µ =4.88 และแนวทางการบริหารวิชาการ ถูกต้องสูงสุด µ =4.75

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2555). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เสริมสินพรีเพรสซิสเท็ม.

เกรียงไกรยศ พันธุ์ไทย. (2559). กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้สำหรับการฝึกอบรมพนักงานในองค์การ. วารสารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์. 3 (2), 82-91.

จรัสศรี จิรภาส. (2562). “ศึกษาไทย” และ “ไทยศึกษา” ในประเทศจีน. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 38 (2), 94-118.

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

จิรภัทร มหาวงค์, วิทยา จันทร์ศิลา และทำรงลักษณ์ เอื้อนครินทร์. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการชองโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18 (4), 114-127.

จิระศักดิ์ สร้อยคำ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปราญชลี สุดตา. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พัชรินทร์ จันทาพูน. (2557). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 42 (1), 80-97.

เพิ่มศักดิ์ บัวรักษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 13 (24), 14-21.

ภัทราวดี มากมี. (2559). การออกแบบการวิจัยสำหรับการวิจัยแบบผสานวิธี. Journal of the Association of Researchers. 21 (2), 19-31.

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: มนตรี.

ยุทธนา คงแหลม. (2559). การศึกษาองค์ประกอบรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์.

ศิริลักษณ์ คัมภิรานนท์ และ อัญชนา ณ ระนอง. (2563). ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิทยาบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 31 (1), 1-16.

สมชาย ปัญญเจริญ. (2563). ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการบริหารจัดการความร่วมมือของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระดับจังหวัด (กรอ.). วารสารรัฐประศาสนศาตร์. 18 (1), 1-22.

สุดา มงคลสิทธิ์. (2562). กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนเอกชนจังหวัด ชลบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (10), 5843-5859.

สุรเดช รอดจินดา. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคเหนือตอนบน. วารสาร Veridian E- Journal Silpakorn University. 12 (1), 1020-1042.

หวานใจ เวียงยิ่ง. (2564). กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

国家移民管理局. (2021). 坚决防止疫情通过出入境渠道传播 ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.gov.cn/xinwen/2021-07/30/content_5628489.htm