รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถสร้างสรรค์และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชานุบาล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถสร้างสรรค์และนวัตกรรม ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ 1) ศึกษาองค์ความรู้จากแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สนทนากลุ่มครู 8 คน สัมภาษณผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ 7 คน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้วิธีการสุ่มห้องเรียนอย่างง่าย และ 4) ประเมินรูปแบบโดยสังเกตการสอนในชั้นเรียนและสะท้อนผลของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบและคู่มือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถสร้างสรรค์และนวัตกรรม แบบประเมิน แบบสังเกตชั้นเรียนและแบบบันทึกทบทวนหลังการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที วิเคราะห์และสรุปข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้มีลักษณะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ทำงานเป็นทีม บูรณาการองค์ความรู้ทั้ง 5 ศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 2) รูปแบบมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นระบุปัญหา ขั้นค้นหาและระดมสมอง ขั้นออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน ขั้นประยุกต์ใช้ ขั้นนำเสนอผลงาน และขั้นประเมินสะท้อนผล การวัดและประเมินผล 3) ผลการใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนมีความสามารถสร้างสรรค์และนวัตกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินตนเองและผลการประเมินชิ้นงานหรือผลงานนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม และ 4) รูปแบบทำให้นักเรียนสร้างผลงานสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
Article Details
References
บุญยนุช สิทธาจารย์. (2560). การพัฒนาชุดการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (ศิลปศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประจักษ์ ปฏิทัศน์. (2562). การคิดเชิงระบบและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนะ บัวสนธ์. (2563). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนราชานุบาล. (2565). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) การศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนราชานุบาล. น่าน: โรงเรียนราชานุบาล.
วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2565). การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการสอน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2567. กรุงเทพมหานคร:
พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2566). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2565 (IMD 2022). กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.
อิสรา พลนงค์ และวาสนา กีรติจำเริญ. (2564). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวสะตีมศึกษาสำหรับการเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วารสารราชพฤกษ์. 19 (3), 119-129.
Arends, R. I. (1997). Classroom Instruction and Management. New York: McGraw Hill.
Chang, Chy-Yung, et al. (2023). Investigating the Impact of Design Thinking-Based STEAM PBL on Students' Creativity and Computational Thinking. IEEE Transactions on Education. 66 (6), 673-681.
Hawari, A. D. M. & Noor, A. I. M. (2020). Project Based Learning Pedagogical Design in STEAM Art Education. Asian Journal of University Education. 16 (3), 102-111.
Jersild. (2009). Child Psychology. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Joyce, B. & Weil, M. & Calhoun, E. (2004). Models of Teaching. (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Mahdia, R.; Sukarmanb, S. S. & Yokc, M. C. K. (2015). Fostering Creativity Through Innovation Engagement in Science and Technology Education: Case Study of Universiti Teknologi MARA Students. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 167, 256-260.
Martinez, S. L. & Stager, G. (2013). Invent to Learn: Making, Tinkering, and Engineering in the Classroom. Torrance, CA: Constructing Modern Knowledge Press.
Maslyk, J. (2016). STEAM Makers: Fostering Creativity and Innovation in the Elementary Classroom. California: Corwin.
Mishra, P. (2012). Rethinking Technology & Creativity in the 21st Century: Crayons are the Future. Technology Trend. 56 (5), 13-16.
OECD. (2019). Education at a Glance 2019: OECD Indicators. Paris: OECD.
Sousa, D. A. & Pilecki, T. (2013). From STEM to STEAM Using Brain-Compatible Strategies to Integrate the Arts. California: A SAGE Company.
Yakman, G. (2008). STEAM Education: An Overview of Creating a Model of Integrative Education. PhD Disseration. Virginia Polytechnic and State University.