รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กิตติ์ธเนศ เกษา
เกรียงไกร สัจจะหฤทัย
สุบิน ยุระรัช

บทคัดย่อ

         รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครเป็นการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดภาวะผู้นำดิจิทัล และกรอบแนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 3) สร้างและประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากร คือ ผู้ปริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 966 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 410 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNImodified
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินกรอบแนวคิดของภาวะผู้นำ ในภาพรวมและรายด้านเหมาะสม (  = 0.97, S.D. = 0.18) และกรอบแนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านเหมาะสม (  = 0.97, S.D. = 0.18) 2) ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น 2.1) ภาวะผู้นำดิจิทัล พบว่า ทักษะดิจิทัล (PNImodified = 0.183) การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล (PNImodified = 0.182) วิสัยทัศน์ดิจิทัล (PNImodified = 0.173) การสื่อสารดิจิทัล (PNImodified = 0.133) การรู้ดิจิทัล (PNImodified = 0.119) และการทำงานเป็นทีม (PNImodified = 0.103) 2.2) การพัฒนาภาวะผู้นำ พบว่า การสร้างแผนพัฒนาองค์กร (PNImodified = 0.175) ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (PNImodified = 0.166) การมีส่รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครเป็นการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดภาวะผู้นำดิจิทัล และกรอบแนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 3) สร้างและประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากร คือ ผู้ปริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 966 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 410 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNImodified
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินกรอบแนวคิดของภาวะผู้นำ ในภาพรวมและรายด้านเหมาะสม (x ̅ = 0.97, S.D. = 0.18) และกรอบแนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านเหมาะสม (x ̅ = 0.97, S.D. = 0.18) 2) ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น 2.1) ภาวะผู้นำดิจิทัล พบว่า ทักษะดิจิทัล (PNImodified = 0.183) การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล (PNImodified = 0.182) วิสัยทัศน์ดิจิทัล (PNImodified = 0.173) การสื่อสารดิจิทัล (PNImodified = 0.133) การรู้ดิจิทัล (PNImodified = 0.119) และการทำงานเป็นทีม (PNImodified = 0.103) 2.2) การพัฒนาภาวะผู้นำ พบว่า การสร้างแผนพัฒนาองค์กร (PNImodified = 0.175) ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (PNImodified = 0.166) การมีส่วนร่วมในองค์กร (PNImodified = 0.160) การมีวัตถุประสงค์ หลักการและแนวคิด (PNImodified = 0.145) ทักษะทางความคิดอย่างเป็นระบบ (PNImodified = 0.129) และการประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ (PNImodified = 0.098) 3) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า มี 2 รูปแบบ
วนร่วมในองค์กร (PNImodified = 0.160) การมีวัตถุประสงค์ หลักการและแนวคิด (PNImodified = 0.145) ทักษะทางความคิดอย่างเป็นระบบ (PNImodified = 0.129) และการประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ (PNImodified = 0.098) 3) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า มี 2 รูปแบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ สุขแสน และคณะ. (2021). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 12 (2), 112-125.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

จิราภรณ์ ปกรณ์ (2564). รูปแบบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ.

จิราภรณ์ ปกรณ์, ทวีศิลป์ กุลนภาดล และสมบูรณ์ บูรศิริรักษ์. (2565). รูปแบบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารรัชต์ภาคย์. 16 (48), 396-410.

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่ม สหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐยาภรณ์ เล็กสิงห์โต. (2566). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มจร พุทธปัญญาริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 8 (5), 181-192.

เนตรนภา เจตน์จำนงค์. (2564). การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร. วารสารการศึกษาไทย. 15 (2), 45-60.

ทศพล สุวรรณราช. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 7 (3), 160-177.

ปณิดา สุภารมย์ และกุหลาบ ปุริสาร. (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 13 (1), 128-142.

มูฮำหมัดรุซลัน ลือบากะลูติง, และนิรันดร์ จุลทรัพย์. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ตรัง กระบี่. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13. (หน้า 1935-1946). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สันติ พิณรัตน์ และ กุหลาบ ปุริสาร. (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 13 (1), 70-83.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2566. แหล่งที่มา: https://www.nesdc.go. th/article_attach/article_file_20230307173518.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2565). รายงานผลการจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2565. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

Koul, L. (1984). Methodology of educational research. Vikas Publishing House.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in theassessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2 (1), 49-60.