กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ ตามแนวคิดการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

Main Article Content

ณัฐสุดา เกษา
เกรียงไกร สัจจะหฤทัย
สุบิน ยุระรัช

บทคัดย่อ

           กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ ตามแนวคิดการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาบนพื้นที่สูง และกรอบแนวคิดการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 2) วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคาม ของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ 3) พัฒนาและประเมินกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ ประชากร คือ ผู้บริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูง จำนวน 48 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 22 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่      ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNImodified   
          ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาบนพื้นที่สูง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับร้อยละ 95 และกรอบแนวคิดการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับร้อยละ 100 2) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาบนพื้นที่สูง พบว่า     จุดแข็ง คือ การบริหารงานวิชาการ และการบริหารงานบุคคล จุดอ่อน คือ การสร้างความเข้าใจและการยอมรับความแตกต่าง การสร้างสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ การบริหารงานทั่วไป การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน การบริหารงานงบประมาณ โอกาส คือ นโยบายด้านการศึกษา สภาพสังคม และภาวะคุกคาม คือ สภาพเศรษฐกิจ 3) ผลการพัฒนาและประเมินกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีจำนวน 3 กลยุทธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม วัฒนชัย. (2559). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ชัยยุทธ ศิริสุทธิ์. (2560). การบริหารจัดการศึกษาในพื้นที่สูง: แนวทางการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสทางการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19 (2), 286-300.

ทิพวรรณ บุญเพ็ง. (2563). การจัดการศึกษาที่ตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่สูง. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 48 (3), 123-138.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). การบริหารโรงเรียนในพื้นที่พิเศษ. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

ธีระ รุญเจริญ. (2562). นโยบายการศึกษากับการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 30 (2), 1-15.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2560). การบริหารการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ประเวศ วะสี. (2557). การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา: มุมมองเชิงระบบ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พิชญา ดำรงค์พิวัฒน์. (2563). ผลกระทบของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจต่อคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ. 11 (21), 45-62.

วรรณดี สุธาพาณิชย์. (2562). การบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (1), 198-211.

วิจารณ์ พานิช. (2563). การจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: กรณีศึกษาพื้นที่สูงภาคเหนือ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วิทยา เมฆขำ. (2562). ความท้าทายในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21 (4), 122-137.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). การบริหารการศึกษา: หลักการ ทฤษฎี หน้าที่ ประเด็น และบทวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.

วิษณุ หยกจินดา. (2561). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล: กรณีศึกษาภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20 (2), 189-204.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาบนพื้นที่สูง. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 49 (1), 78-93.

สมพงษ์ จิตระดับ. (2558). การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล: บทบาทของครูและชุมชน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 43 (3), 1-15.

สมศักดิ์ เอี่ยมดี. (2562). การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21 (1), 156-171.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2563 - 2565). เชียงใหม่: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2555). การบริหารโรงเรียนในพื้นที่พิเศษ: แนวคิดและการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนบนพื้นที่สูง: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19 (1), 78-92.

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา: มุมมองเชิงสังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Epstein, J. L. (2018). School, family, and community partnerships: Preparing educators and improving schools. New York: Routledge.

Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. New York: Bantam Books.

Koul, L. (1984). Methodology of educational research. New Delhi: Vikas Publishing House.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

UNESCO. (2020). Global Education Monitoring Report 2020: Inclusion and education: All means all. Paris: UNESCO.