กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

Main Article Content

เบญจพร บรรพสาร
เกรียงไกร สัจจะหฤทัย
สุบิน ยุระรัช

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเพื่อการศึกษากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยงานวิจัยเป็นแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multi - Phase Mixed Method Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และ 3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประชากร คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 52 โรงเรียน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความต้องการจำเป็น โดยใช้สูตร PNImodified ผลการวิจัย พบว่า
         ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการสภาพแวดล้อมภายใน โดยรวมมี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพแวดล้อมภายนอกโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึง ประสงค์ของการบริหารวิชาการสภาพแวดล้อมภายในโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากสภาพแวดล้อม ภายนอกมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
         ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
         ผลการศึกษากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 8 กลยุทธ์รอง และ 39 วิธีดำเนินการ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กาญจนา เงารังษี. (2559). การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development: ESD). วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), 16-17.

กิติมา ปรีดีดิลก. (2559). ทฤษฎีบริหารองค์กร. กรุงเทพฯ: ชนะการพิมพ์.

กุลวิภา ชีพรับสุข. (2557). ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) รูปแบบใหม่ของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2563). การจัดการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลิสรา จิตรชญาวนิช, นิตยา สุวรรณศรี, อุดม คําขาด, ชลายุทธ์ ครุฑเมือง และ สุมิตรา โรจนนิติ. (2565). การจัดการเรียนรู้ในยุคชีวิติวิถีใหม่สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. Journal of Modern Learning Development, 7(7), 490-503.

มนรัตน์ แก้วเกิด. (2562). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

จรุณี เถ้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษากลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2552). แนวคิดและหลักการจัดทำแผนกลยุทธ์ (Strategic planning) ในการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อโลกใบเล็ก. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2553). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : พื้นฐานการศึกษาต้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :ไทยสัมพันธ์.

ศิรเมศร์ ศิริศักดิ์ธนากุล. (2566). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2564). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566 – 2570 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

อมรรัตน์ ศรีพอ. (2561). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

UNESCO. (1997). Education for a Sustainable Future: : A Transdisciplinary Vision for Concerned Action. Thessaloniki : UNESO & The Government o Greece.

UNESCO. (2016). Incheon Declaration and Framework for Action for the implementation of Sustainable Development Goal 4. Retrieved from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000245656

WCED. (1987). Report of the World Commission on Environment and Development. Our Common Future : Double Days.