การนำนโยบายยุติธรรมทางเลือกด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไปปฏิบัติของสำนักงานศาลยุติธรรมประจำภาค 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสำเร็จการนำนโยบายยุติธรรมทางเลือกด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไปปฏิบัติของสำนักงานศาลยุติธรรมประจำภาค 6 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายยุติธรรมทางเลือกด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไปปฏิบัติของสำนักงานศาลยุติธรรมประจำภาค 6 3) แนวทางส่งเสริมหรือสนับสนุนการนำนโยบายยุติธรรมทางเลือกด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไปปฏิบัติของสำนักงานศาลยุติธรรมประจำภาค 6 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 314 คน ใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิธีแบบขั้นตอน (Stepwise regression analysis) เชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 34 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำเร็จของการนำนโยบายยุติธรรมทางเลือกด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไปปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการการนำนโยบายยุติธรรมทางเลือกด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไปปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Beta = 0.588) รองลงมาปัจจัยด้านผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Beta = 0.577) ด้านสนับสนุนของหน่วยงาน (Beta = 0.564) ด้านคู่กรณี (Beta = 0.546) ด้านคดีความ (Beta = 0.462) ค่า Adjusted R Square = 0.421 หรือ 42.10% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมการนำนโยบายยุติธรรมทางเลือกด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไปปฏิบัติ ในการสนทนากลุ่ม ได้จัดทำโมเดลแผนภาพกระบวนการองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งนำไปพัฒนาระบบการไกล่เกลี่ยได้ รวมถึงการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีผลสำเร็จอย่างแท้จริง
Article Details
References
ชัยพร อิทธิพานิชพงศ์ และสุภาวรรณ วงศ์คาจันทร์. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประสิทธิผลในศาลแขวงนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
นิธิโรจน์ วงศ์วัฒนถาวร. (2561). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดอุดรธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ประสิทธิ ดวงตะวงษ์. (2553). ประสิทธิผลกระบวนการสร้างและพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยและการดำเนินงานของศาลยุติธรรมไทย. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
วรเดช จันทรศร. (2563). รัฐประศาสนศาสตร์ : ศาสตร์และศิลป์ของการบริหารราชการแผ่นดิน. มูลนิธิตากสินเพื่อพัฒนาการศึกษา
สรวิศ ลิมปรังษี. (2555). การจัดการความขัดแย้งกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลยุติธรรม.
สำนักงานศาลยุติธรรม. (2565). แผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2565-2568. กรุงเทพมหานคร: พี. เอ. ลีฟวิ่งจำกัด.
Van Meter,D.S.,&Van Horn ,C.E.(1975,February).The policy implementation process:A conceptual framework. Administration and Society. 6 (4),446-484.
Emery, R. E., Sbarra, D., & Grover, T. (2005). Divorce mediation: Research and reflections. Family Court Review. 43 (1), 2-3.
Mandell, M. B., & Marshall, A.(2002). The effects of court-ordered mediation in workers’compensation cases filed in circuit court: Results [root an impertinent conducted in the circuit court for Baltimore City. Baltimore, ML: Maryland Institute for Policy Analysis and Research.