ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการเปิดรับชมข่าวสารกีฬาผ่าน เฟสบุ๊คแฟนเพจ T Sports 7 ของผู้ติดตาม

Main Article Content

สุริยา ประดิษฐ์สถาพร
ปุณยนุช ปัญญาปิง
วราพร นาชารีย์
เนตรนภา เขี้ยวแก้ว
มนันยา ชมเชย

บทคัดย่อ

           สถานีโทรทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวและกีฬา ทีสปอร์ต (T Sports) เป็นช่องโทรทัศน์ประเภทรายการกีฬาของไทยดำเนินการโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ออกอากาศผ่านระบบโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิล และโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลทางช่องหมายเลข 7 ภายใต้ใบอนุญาตประกอบการประเภทบริการสาธารณะ เพื่อเสนอรายการกีฬา สุขภาพและคุณภาพชีวิต และเพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่กิจกรรมกีฬา รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารทางการกีฬา เสริมสร้างค่านิยมในการเล่นและดูกีฬาให้กับประชาชน นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำเฟสบุ๊ค T Sports 7 อีกด้วย เพื่อถ่ายทอดสดรายการ T Sports 7 และแฟนเพจสามารถติดตามการถ่ายทอดรายการในลักษณะ Rerun ได้อีกด้วย รวมทั้งประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับข่าวสารการกีฬาที่น่าสนใจในการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการเปิดรับชมข่าวสารกีฬาผ่านเฟสบุ๊คแฟนเพจ
T Sports 7 ของผู้ติดตาม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อปัจจัยจากการเปิดรับชมข่าวสารกีฬาผ่านทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ T Sports 7 ของผู้ติดตาม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง
การได้มาซึ่งตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ยามาเน่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) ใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย เพื่อสรุปผลด้วยการทดสอบค่า F-test (One Way ANOVA)
            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 18-24 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพ นักศึกษา/นิสิต มีรายได้ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท จำนวน และมีสถานภาพโสด มีความพึงพอใจต่อปัจจัยจากการเปิดรับชมข่าวสารกีฬาผ่านทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ T Sports 7 อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.13 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเทคนิคการนำเสนอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.50 รองลงมา ด้านรายการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.40 และน้อยที่สุด ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.64
           สรุปผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจต่อปัจจัยจากการเปิดรับชมข่าวสารกีฬาผ่านทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ
T Sports 7 อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล สายธงแก้ว และสุดารัตน์ อุ่นคำทิพย์. (2565). พฤติกรรมการเปิดรับชม และความพึงพอใจต่อการรับชมถ่ายทอดสดกีฬา ผ่านเว็บไซต์ True Sport ของประชาชนในอำเภอเมืองน่าน. มหาวิทยาลัยน่าน.

ขวัญเรือน กิติวัฒน์. (2531). แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสาร. ใน เอกสารประกอบการสอนวิชาพลศาสตร์ของการสื่อสาร (หน่วยที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชาติชาย วิเรขรัตน์. (2552). เฟซบุ๊คทุกมุม. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์,.

อธิเดช สินธาชีวะ. (2550). รูปแบบการนําเสนอข่าวกีฬาของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV ช่อง NEWS 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาลัยวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Li Honglin. (2561). ความพึงพอใจของชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อจรรยาบรรณในการนําเสนอข่าวของสื่อมวลชนไทย. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.