รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการสถานพยาบาลให้ปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ฉบับปรับปรุงแก้ไข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

Main Article Content

ธารินี แก้วมณีชัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลสภาพปัจจุบัน และสภาพปัญหาของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการสถานพยาบาลให้ปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ฉบับปรับปรุงแก้ไข 2) ศึกษาแบบตรวจประเมินมาตรฐานการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการสถานพยาบาลให้ปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ฉบับปรับปรุงแก้ไข ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล จังหวัดนครพนม จำนวน 122 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบตารางของ Krejcie and Morgan ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณแบบมีโครงสร้าง และแบบบันทึกการประเมินมาตรฐานการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ในสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (คลินิก) โดยตนเองของผู้ประกอบการสถานพยาบาลที่ได้รับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าที แบบ dependent Samples
          ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลสภาพปัจจุบันมีปัญหาและอุปสรรค ในกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ ตัวบทกฎหมายที่ไม่ทันสมัยกับ สภาพการณ์ บทลงโทษที่ไม่รุนแรง เจ้าหน้าที่ของรัฐและสิ่งสนับสนุนไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถควบคุมได้ อย่างเต็มประสิทธิภาพ การตรวจสอบการกระทำผิดไม่ทั่วถึง อำนาจหน้าที่ขององค์กรหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมกำกับมีความซ้ำซ้อนหรือเหลื่อมล้ำกันในเชิงนโยบาย ความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมทาง สังคมของผู้รับบริการ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและธุรกิจบริการทางการแพทย์ (2) ผลการดำเนินงานพบว่า การประเมินหลังกระบวนการพัฒนามาตรฐานโดยใช้รูปแบบฯ พบว่า ร้านที่สมัครใจเข้าร่วมกระบวนการพัฒนา ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานทั้งหมด 122 ร้าน คะแนนเฉลี่ยผลการประเมินมาตรฐานภาพรวม และจำแนกรายหมวดเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). แผนขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2567. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กฤษณี เกิดศรี,สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความแตกฉานด้านสุขภาพกับความสามารถในการคุ้มครองตนเองของผู้บริโภคในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ. วารสารเภสัชกรรมไทย. 10 (1), 239-248.

เนาวรัตน์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล. (2560). การพัฒนาแบบตรวจประเมินมาตรฐานการจัดบริการการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลเอกชน. วารสารสุขภาพภาคประชาชน. 12 (1), 46-56.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10 (แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานการให้บริการของสถานพยาบาลเกี่ยวกับฉลากบรรจุยาพ.ศ. 2565. (2565, 16 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 61 ง. หน้า 19-20.

ประภา สุดราม และภาวัต ชาวพัฒนวรรณ (2562 : 206) ได้ทำวิจัยเรื่อง อุปสรรคในกระบวนการบังคับใช้พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 เพื่อควบคุมการโฆษณาสถานพยาบาล. วารสารเกษมบัณฑิต. 20 (ฉบับตุลาคม), 200-209.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. (2567). รายงานประจำปีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม พ.ศ. 2566. นครพนม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

อุสาห์ จันทรวิจิตร. (2563). รูปแบบการพัฒนายกระดับมาตรฐานวิธีปฏิบัติเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ในร้านขายยาแผนปัจจุบัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร. 29 (1), 119-128.

Baum, F., MacDougall, C., & Smith, D. (2006). Participatory Action Research. Journal Epidemiol Community Health. 60, 854-857.

Krejcie, V. R. and W. D. Morgan. (1970). “Determining sample size for research activities,” Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.

Loewenson, R. (2014). Partici Patory Action Research in Health Systems: a Method Reader. Canada: Equinet