การศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย และแนวทางการประยุกต์ใช้แนวคิดวัฏจักรการเรียนรู้และสตีมศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านวรรณคดีพระพุทธศาสนาเชิงวิเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย 2) ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดวัฏจักรการเรียนรู้และสตีมศึกษาร่วมกับเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านวรรณคดีพระพุทธศาสนาเชิงวิเคราะห์ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในเขตภาคเหนือ จำนวน 4 ท่าน และ 2) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหา 2) แบบสอบถามแนวทางการประยุกต์ใช้รูปแบบการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอโดยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษา พบว่า 1) การศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย พบว่า นิสิตพบว่าไม่สามารถวิเคราะห์และจำแนกคำศัพท์ได้ เนื่องจากขาดพื้นฐานและความคุ้นเคยกับภาษาบาลีและสันสกฤต ส่งผลให้การเรียนรู้และการวิเคราะห์วรรณคดีพระพุทธศาสนาไม่สมบูรณ์ 2) การศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้รูปแบบการสอน พบว่า การบูรณาการแนวคิดวัฏจักรการเรียนรู้และสตีมศึกษาร่วมกับเว็บแอปพลิเคชันช่วยให้นิสิตค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผ่านการคิดวิเคราะห์และการลงมือปฏิบัติ นิสิตพัฒนาทักษะการค้นคว้า คิดวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เว็บแอปพลิเคชันเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา การเรียนการสอนมีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับความต้องการของนิสิต การนำกระบวนการวัฏจักรการเรียนรู้และสตีมศึกษาช่วยเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการสร้างสรรค์ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ฐิติมา จันทะคีรี, จุฑารัตน์ เกตุปาน และทรงภพ ขุนมธุรส. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในเขตภาคเหนือ เรื่อง คำยืมภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ทิศนา แขมณี. (2566). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัทมา จงลือชา. (2565). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการออกแบบ 6E (The 6E Learning by Design) ตามแนวคิดสตีม (STEAM EDUCATION). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มัลลิกา มาภา. (2559). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
วรางคณา ชั่งโต. (2559). ผลของการใช้รูปแบบการสอน 7E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ. (2553). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2 : คำการสร้างคำและการยืมคำ.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). สถาบันภาษาไทยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วุฒิภัทร หนูยอด และวิชริณี สวัสดี. (2565). การพัฒนาระบบขอใช้โปรแกรมและอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษารูปแบบการทำงานของบริษัทเอกชน. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 18, (3), 22-33
ศิริภา จันทร์เกื้อ, วิภาวรรณา ศรีใหม่, และโนรอัยนา มะยิ. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการสังเกตคำภาษาบาลีและคำภาษาสันสกฤตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ. 10, 1134-1145.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวตักรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้น ส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
เสาวลักษณ์ ทักษิณากุล. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง คำภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อภิชาญ ปานเจริญ. (2563). บาลีสันสกฤตในภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.