ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีโรงเรียนของผู้ทำบัญชีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้การจัดทำบัญชีและปัญหาการทำบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีโรงเรียนของผู้ทำบัญชีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยประชากร คือ ผู้ทำบัญชีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 752 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของยามาเน่ ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้กลุ่มตัวอย่าง 262 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้การจัดทำบัญชีด้านการบันทึกบัญชีการเงินมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ระเบียบการเงินและบัญชี และการจัดทำรายงานการเงินและบัญชี (2) ผู้ตอบแบบสอบถามมีปัญหาการทำบัญชีด้านผู้ปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อม และ ด้านกระบวนการทำงาน (3) ผู้ตอบแบบสอบถามมีประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีโรงเรียนด้านความทันเวลา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านความครบถ้วน และด้านความถูกต้อง (4) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความรู้การจัดทำบัญชี ได้แก่ ด้านการบันทึกบัญชีการเงิน และด้านการจัดทำรายงานการเงินและบัญชีส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีโรงเรียน และปัญหาการทำบัญชี ได้แก่ ด้านผู้ปฏิบัติงาน และด้านอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมส่งผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการจัดสรรบุคลากร ต้องให้ความสำคัญในการคัดเลือกบุคลากรที่มีความเหมะสมทั้งในด้านความรู้ด้านบัญชี อบรมการให้ความรู้ด้านบัญชีจากผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาสอนงานด้านบัญชี จะทำให้ผู้ทำบัญชีมีความรู้และสามารถปฏิบัติงานด้านบัญชีได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
Article Details
References
กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว. (2561). สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร. บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
กุลธิดา ธนสมบัติศิริ. (2564). คุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในสำนักงานรับทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จิตติมา ขำดำ, สุพิศ ฤทธิ์แก้ว และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2562). ความรู้ความสามารถของนักบัญชีและความเข้าใจในมาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพงานบัญชีของสำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารนักบริหาร. 39 (2), 52-65.
ธนิดสรณ์ จิระพรชัย. (2547). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการบัญชีภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร: กองกลาง สำนักงาน ก.พ.
นฤมล ฉันทพิชญานันท์. (2563). ศึกษาปัญหาการทำบัญชีในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีของหน่วยงานภาครัฐ ในจังหวัดสิงห์บุรี. ทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พรรณี นิลสิทธิ์. (2548). สภาพและปัญหาการปฏิบัติงานการเงินและการบัญชีในโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มสำนักงานเขตที่ 5 สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2566). แนวทางการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นครศรีธรรมราช: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดนครศรีธรรมราช.
สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. (2545). ยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร.
อรนุช ทองสุโขวงศ์. (2545). สภาพและปัญหาการปฏิบัติงานการเงินโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์. ทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.