รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศด้านสถานศึกษาปลอดภัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารสู่ความเป็นเลิศด้านสถานศึกษาปลอดภัย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศด้านสถานศึกษาปลอดภัย และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศด้านสถานศึกษาปลอดภัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามเกณฑ์การเสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศ (The Best Safety Practice) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้รูปแบบการวิธีวิจัยเชิงผสานวิธี (Mixed Methodology) รูปแบบการวิจัยแบบขั้นตอนเชิงสำรวจ (Exploratory Sequential Design) ซึ่งมีการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 9 คน ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 508 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตร Yamane และระยะที่ 3 ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 แบบสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 แบบสอบถาม และระยะที่ 3 แบบประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 508 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์เชิงปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารสู่ความเป็นเลิศด้านสถานศึกษาปลอดภัย ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ 2) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศด้านสถานศึกษาปลอดภัย ค่าดัชนีมีความสอดคล้องและค่าสถิติผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) ผลการประเมิน ในภาพรวมทุกด้าน อยู่ระดับมากที่สุด ( =4.98 S.D. = 0.15) และรูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศด้านสถานศึกษาปลอดภัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ประกอบไปด้วย 3.1) ด้านการวางแผนและพัฒนากลยุทธ์สถานศึกษาปลอดภัย 3.2) ด้านการบริหารงบประมาณสถานศึกษาปลอดภัย 3.3) ด้านการนำองค์กร
การอำนวยการ การปฏิบัติสถานศึกษาปลอดภัย 3.4) ด้านการกำหนดบุคลากรปฏิบัติหน้าที่สถานศึกษาปลอดภัย 3.5) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปลอดภัย 3.6) ด้านการบริหารเทคโนโลยีสถานศึกษาปลอดภัย 3.7) ด้านการรายงานผลการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัย และ 3.8) ด้านการวัดผลและการประเมินผลลัพธ์การบริหารสถานศึกษาปลอดภัย
Article Details
References
กนกอร อุ่นสถานนท์. (2563). การบริหารด้านความปลอดภัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10 (2), 1 – 14.
ขำ แสงจันทร์. (2561). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน เพื่อสร้างอาชีพในโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล. Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11 (2), 1546-1563.
ปาจรีย์ ผลประเสริฐ. (2562). การวิจัยเชิงผสานวิธี (Mixed Method) [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะวิทยาลัยการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
นิษฐ์ฐา พีระชัยภาวงศ์ และคณะ. (2567). การศึกษาการบริหารด้านสถานศึกษาปลอดภัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร. 4 (1). 15-25.
รัชนี จูมจี, มณฑิชา รักศิลป์, ญาณิฐา แพงประโคน, และจารุพร ดวงศรี. (2565). การสร้างรูปแบบดำเนินงานการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยทางจราจรในโรงเรียนกรณีศึกษา โรงเรียนบ้านยางลุ่ม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 11 (1), 118-126.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2565). การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
อดิศร ดีปานธรรม. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
Bollen, K. A. (1989). Structural equations with latent variables. New York: John Wiley & Sons.
Browne, M. W. & Cudeck, R. (1993). Alternative ways of assessing model fit, in Testing Structural 3 Equation Models, ed. K. A. Bollen and Long. S., Newbury Park CA: Sage. components: Rationale of two-index strategy revisited. Structural Equation Modeling. 12 (3), 343-367.
Deok-Jin Jang & Ha-Sung Kong, (2023). "Development of a safety education program using simulator fire extinguishers in Korea: Focusing on elementary school students," Journal of Education and e-Learning Research, Asian Online Journal Publishing Group. 10 (2), 294-298.
Diamantopoulos, A., & Siguaw, A. D. (2005). Introducing LISREL: A guide for the uninitiated. London: Sage Publications.
Durande-Moreau, A., & Usunier, J. (1999). “Time Styles and the Waiting Experience: An Exploratory Study”. Journal of Service Research. 2 (2), 173-186.
Fan, X., & Sivo, S. (2005). Sensitivity of fit indexes to misspecified structural or measurement model.
Hair et al. (2006). Multivariate data analysis. (7th ed.). New Jersey: Pearson Education International.
Harrison-Walker, L. J., (2001). The measurement of word-of-mouth communication and investigation of service quality and customer commitment as potential antecedents. Journal of Service Research. 4 (1), 60-75.
Koury, G. C. (2019). Safe Schools: One School District’s Safety and Crisis Response Practices. Wilmington University (Delaware).
Korstjens, I., & Moser, A. (2018). Series: Practical guidance to qualitative research. Part 4: Trustworthiness and publishing. European Journal of General Practice. 24 (1), 120-124.
Mueller, R. O. (1996). Basic Principles of Structural Equation Modeling. An Introduction to LISREL and EQS. New York: Springer-Verlag.
Sorbon, D. (1996). LISREL 8: User's Reference Guide. Scientific Software International
Suri, H. (2011). Purposeful sampling in qualitative research synthesis. Qualitative research journal. 11 (2), 63-75.
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1998). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook. sage.
Suciu, M. C., Tavares, D. C., & Zalmon, I. R. (2018). Comparative evaluation of crustaceans as bioindicators of human impact on Brazilian sandy beaches. Journal of Crustacean Biology. 38 (4), 420-428.
Widowati, E., Istiono, W., & Husodo, A. H. (2021). The development of disaster preparedness and safety school model: A confirmatory factor analysis. International Journal of Disaster Risk Reduction. 53 (5), 102004.