การพัฒนาแพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน

Main Article Content

สมาภรณ์ นวลสุทธิ์
สุจินดา พรหมขำ
บำรุง ศรีนวลปาน

บทคัดย่อ

          ในการตลาดยุคดิจิทัลคงปฏิเสธไม่ได้ว่าแพลตฟอร์มการตลาดมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของธุรกิจ การพัฒนาแพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการเข้าถึงตลาดของสินค้าชุมชน ซึ่งมักประสบปัญหาในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ให้กว้างขวางพอและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ แพลตฟอร์มดังกล่าวจะประกอบด้วยฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการชุมชนสามารถจัดการสินค้า ดำเนินการด้านการตลาด
และทำธุรกรรมออนไลน์ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถประเมินผลการดำเนินงานและปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดได้ตามสถานการณ์ สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกันของห่วงโซ่คุณค่า ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ สังคม ได้ทันต่อเวลาและความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการตลาด การพัฒนาแพลตฟอร์มนี้เริ่มต้นจากการศึกษาความต้องการและปัญหาของผู้ประกอบการชุมชน เพื่อนำมาวางแผนและออกแบบฟังก์ชันการทำงานที่ตอบสนองต่อความต้องการ รวมถึงการอบรมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีความรู้และทักษะในการใช้งานแพลตฟอร์ม นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดียและเครื่องมือค้นหาเพื่อเพิ่มโอกาสในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของชุมชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ส่งผลให้ตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่องภายใต้พฤติกรรมผู้บริโภควิถีใหม่ที่ผู้บริโภคต้องการความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต นอกจากนั้นผลที่คาดหวังจากการพัฒนาแพลตฟอร์มนี้คือ การเพิ่มยอดขายและรายได้ของผู้ประกอบการชุมชน การสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นและการเพิ่มการรับรู้และคุณค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชนในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาว

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จิรวรรณ ปลั่งพงษ์พันธ์. (2566). การวิเคราะห์ต้นทุนทางการตลาดดิจิทัลสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยวิธีต้นทุนฐานกิจกรรมและการบริหารฐานกิจกรรม. 17 (2), 433-449.

ธวัชชัย บัววัฒน์. (2564). ระบบนิเวศทางธุรกิจกับความยั่งยืนขององค์กร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://beginrabbit.com/2021/09/02/ระบบนิเวศทางธุรกิจกับค/

ปริศนา มั่นเภา และ ฐิติยา เนตรวงษ์. (2564). ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อยกระดับธุรกิจบริการในยุคโควิด-19. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 1 (1), 57-65

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). ประเภทของ Marketing Technology. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน2567. แหล่งที่มา: https://www.popticles.com/marketing/types-of-marketing-technology/

พรรณวดี เลิศลุมพลีพันธุ์. (2562). แพลตฟอร์ม: เปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธนบุรี. 14 (1), 150-157

พิชิต ขจรเดชะ. (2561). ระบบนิเวศธุรกิจ : การวิเคราะห์และปรับตัวของอุตสาหกรรมการพิมพ์. วารสารการพิมพ์ไทย. 115, 10-13.

รัตน์ชฎาพร ศรีสุระ และคณะ. (2565). การใช้แนวคิดแบบอไจล์ในการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเสริมศักยภาพ วิสาหกิจชุมชนบ้านท่าก่อ จังหวัดอุบลราชธาน. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. 7 (2), 66-79

รัชดา ธนาดิเรก, การส่งเสริมการแพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ของกระทรวงมหาดไทย, สัมภาษณ์, 29 สิงหาคม 2566

รุ่งลักษณา ดีแจ่ม และ เจน จันทรสุภาเสน. (2564). การพัฒนาดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งผลิตภัณฑ์เมล็ดบัววิสาหกิจชุมชน จังหวัดพิจิตร. วารสารสมาคมนักวิจัย. 26 (1), 166-178

วัจน์ ธัญรส, แพลตฟอร์ม JUNGHUU, สัมภาษณ์, 21 เมษายน 2564

สถิรา มะลาสินและคณะ. (2565). แนวทางการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 10 (4), 1545-1559

สาลีวรรณ จุติโชติ และทิพมาศ เศวตวรโชติ. (2564). การดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุขในยุคดิจิทัล. วารสาร สังคมศาสตร์บูรณาการ. 1 (3), 77-88

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2565). แผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 –

. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน2567. แหล่งที่มา: https://www.depa.or.th/th/master-plan-digital-economy/master-plan-for-digital-econo my -66-67

อภิรักษ์ สงรักษ์. (2563). การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย. รายงานผลการ วิจัย. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.