การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนแห่งความสุขสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

ชินกฤต ศรีสุข
วราภรณ์ ไทยมา
สิรินธร สินจินดาวงศ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2, 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียน แห่งความสุข และ 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนแห่งความสุข โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการออกแบบคู่ขนาน กลุ่มตัวอย่าง จาก 6 สหวิทยาเขต จำนวน 450 คน ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการโรงเรียน 2) รองผู้อำนวยการโรงเรียน และ 3) ครู ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNIModified
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ที่มีค่าดัชนีสูงสุด ที่เป็นจุดอ่อน ได้แก่ ด้านการบริหารโรงเรียน ด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน ที่เป็นจุดแข็ง ได้แก่ ด้านการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านสมรรถนะครู 2) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนแห่งความสุข  สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 ประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์หลัก คือ 1 พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาเน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วมและการใช้เทคโนโลยี ให้มีประสิทธิภาพ 2 พัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุข 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้คุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างมีความสุข และ 4 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข และ 3) ผลการประเมินกลยุทธ์      การบริหารโรงเรียนแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2            มี 4 กลยุทธ์หลัก 11 กลยุทธ์รอง และ 33 วิธีดำเนินการ ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล โพธิเย็น. (2559). การจัดการเรียนรู้เพื่อนำความสุขสู่ผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 13 (2), 121-131.

กมลทิพย์ ใจเที่ยง และ วรกาญจน์ สุดสดเขียว (2563). การบริหารองค์กรแห่งความสุขในโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 18 (2), 75-93.

ธนวุฒิ แก้วนุช, อุทัย บุญประเสริฐ และ พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2563). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 23 (1), 54-71.

บุรินทร์ เทพสาร และ อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2557). ยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข. วารสารครุศาสตร์. 45 (3), 83-96.

พระมหาวิไลศักดิ์ ปญญาวโร, กระเศีรยร อาคารสุวรรณ และชัชวาล จารย์คูณ (2562). แนวทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อความสุขในโรงเรียน. วารสารวิชาการแสงอีสาน. 16 (2), 37-49.

พิกุล พุ่มช้าง และ ปริญญา มีสุข (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถาบันการศึกษาไทย. วารสารฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (2), 647-663.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์.(2564). การบริหารเชิงกลยุทธ์ ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพมหานคร: (พิมพ์ครั้งที่ 21).

สมสินธ์ รักบุญ และ อำนวย ทองโปร่ง (2563). การบริหารโรงเรียนเทศบาลเพื่อให้เป็นองค์กรแห่งความสุข. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10 (2), 310-320.

สํานักงานเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ประเทศไทย. (2565). โรงเรียนแห่งความสุข กรอบแนวคิดเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของผูู้เรียนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานยูเนสโก.

สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ. (2560). โรงเรียนสุขภาวะ : การศึกษาแบบนวัตกรรมยุคใหม่ (Healthy School). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: https://dol.thaihealth.or.th/Media /Index/ 14636424-c01a-e811-80df-00155dddb750?isSuccess=False.

อธิคุณ สินธนาปัญญา, อภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์, ราชันย์ บุญธิมา และ วีระ สุภากิจ (2557). การบริหารความสุขในสถานศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์. 28 (88), 15-32.

Khanzadi, K., Jafari, P., & Ghourchiyan, N. (2018). Presenting a Model for promoting happiness of High School Students (first grade) in Tehran City. Iranian journal of educational sociology. 1 (7), 14-26.

Mohammad Taheri, M., Veissi, G., & Fazlollahi, S. (2019). Providing a Model for Creating Happiness in High Schools. Iranian journal of educational sociology, 2 (4), 115-126.

Sezer, S., & Can, E. (2020). School Happiness: A Grounded Theory. Educational Policy Analysis and Strategic Research. 15 (1), 44-62.

Sheikh Siyah Banoeieh, S., Bagheri, M., Jafari, P., & Qorchian, N. (2022). Designing a Model to Promote Happiness in High School Students. Iranian Evolutionary and Educational Psychology Journal. 4 (1), 124-135.