การศึกษาเชิงเปรียบเทียบอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจพาณิชย์

Main Article Content

โอภาส กิจกำแหง
ธนกร พงษ์ภู่
กฤษฎา เครือชาลี

บทคัดย่อ

          สถานการณ์ในปัจจุบันนักลงทุนให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีนโยบายหรือกลยุทธ์ด้าน ESG และเริ่มให้ความสำคัญในการลงทุนกับบริษัทที่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI กับบริษัทที่ไม่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI และ 2) เพื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรก่อนและหลังของบริษัทที่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจพาณิชย์ ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบทุติยภูมิจาก www.setsmart.com ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ บริษัทที่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจพาณิชย์ โดยมีเงื่อนไขที่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI และบริษัทที่ไม่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI โดยมีข้อมูลที่เปิดเผยครบหรือผลประกอบการในตลาดหลักทรัพย์เกิน 6 ปี ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2561 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ.2566 ซึ่งพบว่ามีจำนวนรวมทั้งสิ้น 20 บริษัท ผู้วิจัยเลือกใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Independent Samples t-test และ Paired Sample t-test
         ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI มีอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) แตกต่างกับบริษัทที่ไม่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) กลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจพาณิชย์หลังจากที่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI 5 จาก 6 บริษัทมีความแตกต่างกับก่อนมีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่าอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE)  3 จาก 6 บริษัทมีค่าเฉลี่ย หลังมากกว่าก่อนมีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THIS และอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) 4 จาก 6 บริษัทมีค่าเฉลี่ย หลังมากกว่าก่อนมีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THIS

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2567). SERVICE. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.set.or.th/th/market/index/set/service

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2567). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2567-2569: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.krungsri.com/th/research/ industry/industry-outlook/wholesale-retail/modern-trade/io/modern-trade-2024-2026

ประนอม คำผา. (2562). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอัตราส่วนทางการเงินและผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในรายชื่อหุ้นยั่งยืน. Journal of Accountancy and Management. 11 (4), 160-173.

ศูนย์พัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน. (2567). SET ESG RATINGS. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://setsustainability.com//ESG-ratings

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2567). ผู้ถือหน่วยลงทุน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: https://market.sec.or.th

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). ภาวะเศรษฐกิจในประเทศรายไตรมาส. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.nesdc.go.th/main.php? filename=qgdp_page

อัศวเทพ อากาศวิภาต. (2566). อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET 100. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University. 17 (2), 257-267.

Donovan, W. (2022). The Origins of Socially Responsible Investing. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: https://thebalancemoney.com/a-short-history-of-socially-responsible-investing-3025578

Das, M. (2022). Corporate Sustainable Practices and Profitability – Compatible?. Journal of economics and management sciences. 5 (2), 13-21

Duan, Y. (2023). The Post-Covid Relationships between ESG and Corporate Profitability: Evidence from China. BCP business & management. 44, 544-551.

Gavilanes, A. Q., Castellanos, J. D. P. Q., Paredes, T. F. C., & Chagerben, W. (2023). Internal and external factors related to the Return On Equity (ROE) of Ecuadorian Savings and Credit Cooperatives, Segment 1, Period 2014–2020. Studies of Applied Economics. 41 (2). DOI: https://doi.org/10.25115/sae.v41i2.8651

Jinga, P. (2021). The increasing importance of environmental, social and governance (ESG) investing in combating climate change. Environmental Management-Pollution, Habitat, Ecology, and Sustainability.

Koundouri P, Pittis N, Plataniotis A. (2022) The Impact of ESG Performance on the Financial Performance of European Area Companies: An Empirical Examination. Environmental Sciences Proceedings. 15 (1), 1-11.

Karadayi, N. (2023). Determinants of Return on Assets. European Journal of Business and Management Research. 8 (3), 37-44.

Nopiana, P.R. and Novita, W. (2022). Analysis Stock Price Comparison with Price To Book Value (PBV) Method as the Basis for Investment Decisions At Starup Indonesia Company. International Journal of Islamic Business and Management Review. 2 (2), 192-201.

O'Connor, B. (2022). The ESG Investing Handbook: Insights and developments in environmental, social and governance investment. Harriman House Limited.

Prasetiyo, Y. (2022). The Financial Signaling And Internal Factor Company Against To Earning Per Share. JAS (Jurnal Akuntansi Syariah). 6 (2), 216-227.

Sherwood, M. W., & Pollard, J. (2023). Responsible investing: An introduction to environmental, social, and governance investments. Routledge.

setinvestnow. (2564). อยากรู้... เขาดูอะไรในอัตราส่วนทางการเงิน. ลงทุน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/169-the-usefulness-of-financial-ratio