รูปแบบการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย

Main Article Content

เสกสรร ทุนอินทร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้
การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีการดำเนินการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน 1) การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษา 2565 จากครู 130 คน และศึกษาแนวทางการพัฒนาจากแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 7 คน 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบโดยผู้บริหารและครู ปีการศึกษา 2566 และ 4) การประเมินรูปแบบโดยผู้บริหารและครู 136 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูล สรุปข้อมูล และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการพัฒนา คือ ควรจัดอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียนและการสร้างนวัตกรรมโดยวิทยากรที่มีประสบการณ์ทุกปี 2) รูปแบบการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ระบบงานและกลไก กระบวนการ การประเมินผล และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ โดยรูปแบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ผู้บริหารและครูมีความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการประเมินรูปแบบด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กติกา ราชบุตร. (2563). การพัฒนาครูโดยกระบวนการสร้างรูปแบบดูแลให้คำปรึกษาแนะนำครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน วิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

จตุภูมิ กุสาลา. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการทำวิจัย

ในชั้นเรียนของครู ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอห้วยเม็ก

จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จินดา อุ่นทอง. (2565). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถการวิจัยในชั้นเรียนของครูการศึกษาพิเศษ โดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันกับทีมสหวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2560). การสร้างและการพัฒนาโมเดล/รูปแบบ/แบบจำลอง/ตัวแบบ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9 (1), 1-11.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน : ครูทุกคนทำได้ไม่ยาก. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์ .

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2564). สมรรถนะการสร้างนวัตกรรมการสอนบนฐานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2563). การวิจัยในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัชนีกร บุญดี. (2558). การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลสีชมพู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์. 2 (1), 10-22.

โรงเรียนเทิงวิทยาคม. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564. เชียงราย: โรงเรียนเทิงวิทยาคม.

โรงเรียนเทิงวิทยาคม. (2566). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565. เชียงราย: โรงเรียนเทิงวิทยาคม.

ศิวพร ละม้ายนิล. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพนักวิจัยชุมชน อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวณีย์ ชูศรี. (2564). การพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อรนุช ศรีคำ และคณะ. (2561). การพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนให้บุคลากรทางการศึกษา ใน การพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 10 (2), 157-169.

Briggs, D. C. (2005). Meta-analysis: A case study. Evaluation Review. 29 (2), 87–127.

Chen, Y. (2020). How a teacher education program through action research can support English as a foreign language teachers in implementing communicative approaches: A case from Taiwan. SAGE Open. 10 (1), 1-16.

Deshler, D. & Ewert, M. (1995). “Participatory action research: Tradition and major assumption,” The PAR Tool Box: Part #001, http://www.parnet.org/tools.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (2000). Participatory action research. In N.K. Denzin and Y.S. Lincoln (Eds.), Handbook of qualitative research. (2nd ed)., 567-605. Thousand Oaks, CA: Sage.

Servaes, J., et al. (1996). Participatory communication for social change, California: Sage.

Stringer, E. T. (1999). Action research. (2nd ed.). California, Sage.

Wright, P. (2021). Transforming mathematics classroom practice through participatory action research. Journal of Mathematics Teacher Education. 24 (2), 155-177.