รูปแบบการใช้อำนาจเชิงพุทธในการบริหารจัดการวัดของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
Main Article Content
บทคัดย่อ
มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ คือ
1. สภาพการใช้อำนาจในการบริหารจัดการวัดของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 : ผลวิจัยพบว่า เป็นการใช้ที่มีข้อผูกพันกับอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย การใช้อำนาจนั้น ถึงแม้จะมีการละเว้นการปฏิบัติหรือปฏิบัติเกินกว่าหน้าที่บ้าง ก็เพราะเหตุปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นและส่วนรวม
2. การใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามกฎหมายในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 : ผลวิจัยพบว่า การใช้อำนาจของเจ้าอาวาสในการบริหารทรัพย์สิน บุคลากรของวัดและคฤหัสถ์ที่อาศัยอยู่ในวัดให้อยู่ในโอวาท มีการแต่งตั้งคณะกรรมการให้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการตามหน้าที่ในส่วนต่าง ๆ ตามความรู้ความสามารถ โดยใช้ดุลยพินิจโดยชอบสอดคล้องกับหลักพระธรรมวินัยและหลักกัลยาณมิตร
รูปแบบการใช้อำนาจเชิงพุทธในการบริหารจัดการวัดของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 : ผลวิจัยพบว่า มี 3 รูปแบบ คือ 1) การใช้อำนาจตามหลักพระธรรมวินัย 2) การใช้อำนาจอย่างมีศาสตร์และศิลป์ และ 3) การใช้อำนาจตามหลักธรรมาภิบาล ให้ความเสมอภาคของผู้ใต้ปกครอง มีการใช้ดุลยพินิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยไม่มีการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
Article Details
References
กรมการศาสนา. (2542). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบและคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: กองแผนงาน.
คทาวุธ คเวสกธมฺโม (เพ็งที). (2564). ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จิตติ ติงศภัทิย์. (2555). กฎหมายอาญา ภาค 1. แก้ไขปรับปรุงโดย : เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: เจริญรัตน์การพิมพ์.
เฉลิมพล โสมอินทร์. (2546). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.
ประมาณเลิศ อัจฉริยปัญญากุล. (2552). กฎหมายสำหรับพระสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสาธิตวีรญาณ อยู่สุข. (2558). ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการพันธกิจของวัด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
พระครูสาธิตวีรญาณ อยู่สุข. (2558). ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการพันธกิจของวัด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
พระครูอดุลสามัคคยาธร (แสงจันทร์ เจริญคง). (2557). บทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัดในสังคมไทยปัจจุบัน. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2545). การคณะสงฆ์และการศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล. (2539). การบริหารวัด. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอช ที พี เพรส จำกัด.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระศักดิ์สาคร มหาวิริโย. (2564). การบริหารจัดการวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการกับเจ้าอาวาส จังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ราชบัณฑิตยาสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: ศิริวัฒนาอินเตอร์พิมพ์.
วรุตม์ อรุมชูตี. (2563). สถานะของเจ้าอาวาส ไวยาวัจกร และกรรมการวัดตามกฎหมายอาญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สำนักงานศาลยุติธรรม. (2560). ประมวลกฎหมายอาญา. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.