แรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน บริษัท โรงสีเลียงฮงไชย จำกัด อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ชยันต์รัชฎ์ อนันทนันดร
อมรวรรณ รังกูล

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท โรงสีเลียงฮงไชย จำกัด และ 2) เสนอแนวทางการเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน บริษัท โรงสีเลียงฮงไชย จำกัด อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นพนักงานบริษัท โรงสีเลียงฮงไชย จำกัด จำนวน 192 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่า IOC เท่ากับ 0.67-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัครวมเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One Way ANOVA)
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท โรงสีเลียงฮงไชย จำกัด ภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการทำงานด้านปัจจัยค้ำจุน และปัจจัยจูงใจ อยู่ในระดับมาก พนักงานที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ลักษณะการจ้างงาน อายุการทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการทำงานด้านปัจจัยค้ำจุน แตกต่างกัน พนักงานที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการทำงานด้านปัจจัยจูงใจ แตกต่างกัน 2) แนวทาง การเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน บริษัท โรงสีเลียงฮงไชย จำกัด อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการที่ 1 เรียนรู้เทคโนโลยี เพื่อยกระดับฝีมือพนักงาน โครงการที่ 2 Message to CEO และโครงการที่ 3 พื้นที่ส่วนกลาง สานสัมพันธ์พนักงาน หลังจากที่ได้ดำเนินโครงการเรียนรู้เทคโนโลยี เพื่อยกระดับฝีมือพนักงาน และโครงการ Message to CEO ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 พบว่า อัตราการลา มาสาย และขาดงาน หลังทำโครงการลดลง เฉลี่ยอยู่ 4.47 วันต่อเดือน จาก 5.03 วันต่อเดือน ซึ่งสามารถนำผลการศึกษามาใช้เพิ่มแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลิสรา กอปรเมธากุล และภิรดา ชัยรัตน์. (2566). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. 7 (2), 76-95.

ฆฬิสา สุธดาอนันตโภคิน และภมร ขันธะหัตถ์. (2564). ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 13 (1), 23-38.

ชัยวัฒน์ โชคเจริญสุข. (2566). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2566-2568: อุตสาหกรรมข้าว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.krungsri.com/th/research/industry/ industry-outlook/ agriculture/rice/io/io-rice-2023-2025

ธนัชชา ทรัพย์สิงห์ทอง และวิชากร เฮงษฎีกุล. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีความสัมพันธ์ต่อการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและภาษา. 9 (2), 96-108.

นิวัตต์ จุลจำเริญทรัพย์ และอภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรโรงพยาบาลหนองแค. วารสารวิชาการ การตลาดและ การจัดการ. 6 (2), 33-45.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2565). การจัดการสมัยใหม่และการจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

บริษัท โรงสีเลียงฮงไชย จำกัด. (2566). ข้อมูลธุรกิจ ปี 2565. ขอนแก่น: บริษัท โรงสีเลียงฮงไชย จำกัด.

ปานทิพย์ ลิมปติยากร และสุเมธ ธุวดาราตระกูล. (2566). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสถานีบริการน้ำมัน ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 19 (2), 91-106.

พิฆเนศ บัวสนิท และธานี เกสทอง. (2559). การศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของครู กลุ่มอู่ข้าว อู่น้ำ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 9 (19), 155-166.

ศักดิ์ดา ศริรภัทรโสภณ. (2560). พื้นฐานธุรกิจ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมพร บุญคุณ และนพดล บุรณนัฏ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 9 (2), 36-46.

สยามรัฐ วรรณโคตร, ชาญวิทย์ โอภาสเพ็ญทรา, อดิสรณ์ สระบัว และสุปรีชา นามประเสริฐ. (2562). การศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของคนงานก่อสร้างในเขตอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 1 (1), 11-20.

Alfayad, Z. & Arif, L.S.M. (2017). Employee Voice and Job Satisfaction: An Application of Herzberg Two-factor Theory. International Review of Management and Marketing. 7 (1), 150-156.

Certo, S.C. & Certo, S.T. (2016). Modern management: concepts and skills. Boston: Pearson.

Herzberg, F., Mausner, B. & Snyderman, B.B. (1993). The Motivation to Work. Piscataway, NJ: Transaction Publishers.

Holston-Okae, B. L., & Mushi, R. J. (2018). Employee Turnover in the Hospitality Industry using Herzberg’s Two-Factor Motivation-Hygiene Theory. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences. 8 (1), 218-248.

Kotni, Devi & Venkateswarlu. (2018). Application of Herzberg Two-Factor Theory Model for Motivating Retail Salesforce. IUP Journal of Organizational Behavior. 17 (1), 24-42.

Sekaran, U. & Bougie, R. (2020). Research Methods for Business. 8th ed. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.