การยอมรับและใช้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการยื่นแบบ รายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การให้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ถูกพัฒนาและนำมาใช้ในการให้บริการสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่ประชาชน แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การให้บริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้ จึงได้ศึกษาสถานการณ์การใช้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบัน และปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและใช้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาการให้บริการต่อไป โดยการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม โดยสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องการบริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 9 คน และเก็บแบบสอบถามกับประชาชนในกรุงเทพมหานครที่ยื่นแบบรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร จำนวน 480 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัย พบว่า
1. กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มตั้งแต่การลงทะเบียน การยื่นแบบ การชำระเงิน การคืนภาษี ใบกำกับภาษี ภาษีหัก ณ ที่จ่ายผ่านธนาคาร เพื่อให้ภาคธุรกิจและประชาชนเข้าถึงการทำธุรกรรมภาษีได้สะดวกยิ่งขึ้น
2. ปัจจัยการยอมรับและใช้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และยังพบว่าปัจจัยดังกล่าว ได้รับอิทธิพลทางตรงมาจากความตั้งใจในการใช้งาน
3. ทักษะและความสามารถทางดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐ ควรได้รับการพัฒนาทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง อันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนตามลำดับ
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). สถิติสำหรับงานวิจัย ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ. (2539). ไอที 2000 : นโยบายเทคโนโลยีสนเทศแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ. (2545). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์.
ฟ้ารฬิณฑ์ ฟ้าฎิษฐกุล. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของผู้มีเงินได้ ในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: http://www.graduate.cmru.ac.th/core/ km_file/484.pdf
วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง. (2557). ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนกับความภักดีของนักท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยศิลปากร. 34 (2), 132-146
สุข, ส. อ. (2021). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ: Qualitative Data Analysis. วารสารวิจัยและวัดผลการ ศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. 1 (1), 25-36.
Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Akram, U. et al. (2020). Prevalence and psychiatric correlates of suicidal ideation in UK university students. Journal of Affective Disorders. 272, 191-197
Alkraiji, A., & Ameen, N. (2021). The impact of service quality, trust and satisfaction on young citizen loyalty towards government e-services. Information Technology & People.
Alruwaie, M., El-Haddadeh, R., & Weerakkody, V. (2020). Citizens' continuous use of eGovernment services: The role of self-efficacy, outcome expectations and satisfaction. Government information quarterly. 37 (3), 101485.
Carter, L., & Bélanger, F. (2011). The utilization of e‐government services: citizen trust, innovation and acceptance factors. Information systems journal. 15 (1), 5-25
Fishbein, M., & Ajzen, I. (2010). Predicting and changing behavior: The reasoned action approach. Psychology Press.
Gupta et al. (2016). Sustainable Management of Keratin Waste Biomass: Applications and Future Perspectives. Brazilian Archives of Biology and Technology, 59, e16150684.https://doi.org/10.1590/1678-4324-2016150684
Lallmahomed, M. Z., Lallmahomed, N., & Lallmahomed, G. M. (2017). Factors influencing the adoption of e-Government services in Mauritius. Telematics and Informatics. 34 (4), 57-72.
Li, Y., & Shang, H. (2020). Service quality, perceived value, and citizens’ continuous-use intention regarding e-government: Empirical evidence from China. Information & Management. 57 (3), 103197.
Li, Y., & Shang, H. (2021). Service quality, perceived value, and citizens’ continuous-use intention regarding e-government: Empirical evidence from China. Information & Management. 57 (3), 103197.
Mensah, I. K., Zeng, G., & Luo, C. (2020). E-Government services adoption: an extension of the unified model of electronic government adoption. SAGE Open. 10 (2), 2158244020933593.
Suradi, Z., Yusoff, N. H., & AlMashiki, K. S. (2020). Factors Affecting the Use of E-Government Services Among Youths in Oman. SAR Journal. 3 (1), 17-23.