การพัฒนาวิธีตรวจวัดไอออนปรอทในน้ำด้วยชุดตรวจวัด เพอร์ไลต์-โรดามีน บี ไฮดราไซด์

Main Article Content

อรนวล หาญเม่ง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดตรวจวัดไอออนปรอทในน้ำด้วยวิธีการหยดสารละลายที่ใช้งานง่ายและราคาไม่แพง ได้จากการพัฒนาหินเพอร์ไลต์ซึ่งเป็นทรัพยากรในท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี เป็นงานวิจัยที่นําไปสู่การแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมทางสภาวะแวดล้อมทางน้ำที่เกิดจากการตกค้างของโลหะหนักปรอท โดยการนำหินเพอร์ไลต์มาผูกติดสารโรดามีน บี ไฮดราไซด์ ใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจวัดไอออนปรอทในน้ำ สรุปผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาชุดตรวจวัดไอออนปรอทนี้  ใช้หินเพอร์ไลต์ 0.1 กรัมต่อการวัด 1 ตัวอย่าง  สามารถพัฒนาเป็นชุดตรวจวัดได้ ราคาโดยประมาณ 4.75 บาท ต่อ การวัด 1 ตัวอย่าง เมื่อมีการตรวจวัดไอออนปรอทในน้ำด้วยวิธีการหยดสารละลาย  สามารถสังเกตการเปลี่ยนสีของชุดตรวจวัดได้ในทันที โดยเกิดการเปลี่ยนสีจากผงสีขาวขุ่นเป็นสีชมพู นอกจากนี้การทดสอบพบว่า ความเข้มข้นสีของชุดตรวจวัดที่เปลี่ยนแปลงแปรผันตรงกับปริมาณไอออนปรอทที่เพิ่มขึ้น ตรวจวัดปรอทได้ในช่วงความเข้มข้น 4.0 – 16.0 มิลลิกรัมต่อลิตร  และสามารถยืนยันการตรวจวัดไอออนปรอทภายใต้แสงยูวีได้ พบว่าเกิดการเปลี่ยนสีจากผงสีม่วงเป็นสีส้มสว่างเมื่อนำชุดตรวจวัดไปหยดด้วยสารละลายไอออนปรอท 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มวิศวกรรมและความปลอดภัยสำนักเหมืองแร่และสัมปทาน. (2567). เพอร์ไลต์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://www1.dpim.go.th/ppr/title.php?tid=000001 074149948

กานติมา สิทธิ์เหล่าถาวร และ รพีพร สุคนธปฏิภาค. (2567). การหาปริมาณสารหนู แคดเมียม ปรอท และตะกั่วในตัวอย่างสัตว์น้ำด้วยเทคนิค Inductively Coupled Plasma - Mass Spectrometry (ICP-MS). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://scispec.co.th/app/ TH/AN _Fisheries_As_Cd_ Hg_Pb_ICPMS.pdf

ต้องชนะ สกุลเกียรติปัญญา. (2562). คู่มือวิเคราะห์โลหะหนักด้วยเทคนิค Flame Atomic Absorption Spectroscopy. งานปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานสากลคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล.

นิคม จึงอยู่สุข. (2531). ประโยชน์ของหินภูเขาไฟเนื้อแก้วเพอร์ไลต์ในงานอุตสาหกรรม. การประชุมเหมืองแร่ประจำปี 2531 (หน้า 133 – 140). 17 - 19 สิงหาคม 2531. ห้องสมุดกรมทรัพยากรธรณี.

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2567). อัตราค่าบริการวิเคราะห์ทดสอบตัวอย่าง/ผลิตภัณฑ์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://cse.wu.ac. th/wp-content/uploads/2017/07/WU-1-5.pdf

สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2567). อัตราค่าบริการประเภทงานวิเคราะห์ของสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://eric.chula.ac.th/documents/upload/20180222/927794fd2cb 1938cb62b029fc3589371.pdf

เสาวนีย์ เสียมไหม. (2551). การศึกษาสมบัติหินเพอร์ไลต์ ตำบลมหาโพธิ์ อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี. การประชุมวิชาการธรณีวิทยา 2551 (หน้า 45 – 50). 3 - 5 กันยายน 2551. ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา. กรุงเทพมหานคร

He C., Zhu W., Xu Y., Chen T., & Qian X. (2009). Trace mercury (II) detection and separation in serum and water samples using a reusable bifunctional fluorescent sensor. Analytica Chimica Acta. 651 (2), 227-233.

Kim H., Ananda R. B., Jeong J., Angupillai S., Choi J. S., Nam J.-O., Lee C.-S., & Son Y.-A. (2016). A rhodamine scaffold immobilized onto mesoporous silica as a fluorescent probe for the detection of Fe (III) and applications in bio-imaging and microfluidic chips. Sensors and Actuators B: Chemical. 224, 404-412.

Kraithong S., Damrongsak P., Suwatpipat K., Sirirak J., Swanglap P., & Wanichacheva N. (2016). Highly Hg2+-sensitive and selective fluorescent sensors in aqueous solution and sensors encapsulated polymeric membrane. RSC Advances. 6, 10401-10411.

Li L., Wang J., Xu S., Li C., & Dong B. (2022). Recent progress in fluorescent probes for metal ion detection. Frontiers in Chemistry. 10, 875241.

Li Q., & Zhou Y. (2023). Recent advances in fluorescent materials for mercury (II) ion detection. RSC Advances. 13, 19429-19446.

Mahony T. F., & Morris M. A. (2021). Hydroxylation methods for mesoporous silica and their impact on surface functionalization. Microporous and Mesoporous Materials. 317, 110989.

Nguyen T. H., Sun T., & Grattan K. T. V. (2019). A turn-on fluorescence-based fibre optic sensor for the detection of mercury. Sensors. 19 (9), 2142.

Praikaew P., Duangdeetip T., Chimpalee N., Wainiphithapong C., Swanglap P., & Wanichacheva N. (2015). Colorimetric sensor for detection of Hg2+ in aqueous samples utilizing rhodamine B hydrazide-modified silica. Materials Express. 5 (4), 300-308.

Roos G., & Roos C. (2015). Chapter 7 - Functional Classes II, Reactions. Organic Chemistry Concepts. An EFL Approach, pp. 103-149.

Saengdee P., Chaisriratanakul W., Bunjongpru W., Sripumkhai W., Srisuwan A., Jeamsaksiri W., Hruanun C., Poyai A., & Promptmas C. (2015). Surface modification of silicon dioxide, silicon nitride and titanium oxynitride for lactate dehydrogenase immobilization. Biosensors and Bioelectronics. 67, 134-138.

Shuai H., Xiang C., Qian Le., Bin F., Xiaohui L., Jipeng D., Chang Z., Jiahui L., & Wenbin Z. (2021). Fluorescent sensors for detection of mercury: From small molecules to nanoprobes. Dyes and Pigments. 187, 109125.

Udhayakumari D. (2022). Review on fluorescent sensors-based environmentally related toxic mercury ion detection. Journal of Inclusion Phenomena and Macrocyclic Chemistry, Vol. 102, 451–476.

Wu D., Wang Z., Wu G., & Huang W. (2012). Chemosensory rhodamine-immobilized mesoporous silica material for extracting mercury ion in water with improved sensitivity. Materials Chemistry and Physics. 137 (1), 428-433.