กลยุทธ์การบริหารสู่องค์การแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของกลยุทธ์การบริหารสู่องค์การแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สร้างกลยุทธ์การบริหารสู่องค์การแห่งนวัตกรรม 3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารสู่องค์การแห่งนวัตกรรม การวิจัยเป็นแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามกับผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 397 คน ใช้เทคนิคเดลฟายเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน 3 รอบ สัมมนาผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 35 คน เครื่องมือการวิจัย ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท เป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิด แบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าPNIModified ใช้สถิติหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของกลยุทธ์บริหารสู่องค์การแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสภาพปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าสภาพที่พึงประสงค์เป็นรายด้านทุกด้าน ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นของกลยุทธ์การบริหารสู่องค์การแห่งนวัตกรรม ภาพรวมพบว่า ค่า PNIModified อยู่ระหว่าง 0.280 ถึง 0.335 ด้านความต้องการมีค่า PNIModified สูงสุด เรียงตามลำดับความสำคัญ คือ วัฒนธรรมองค์การ , ทรัพยากรและเทคโนโลยีดิจิทัล , ภาคีเครือข่าย ผลการสร้างกลยุทธ์การบริหารสู่องค์การแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา ได้จำนวน 4 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 องค์การวัฒนธรรมต้นแบบการบริหารทรัพยากร กลยุทธ์ที่ 2 สร้างภาคีเครือข่ายและคิดเชิงระบบ กลยุทธ์ที่ 3 วิสัยทัศน์ กำหนดทิศทาง สู่การปฏิบัติของสถานศึกษา และกลยุทธ์ที่ 4 ปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารสู่องค์การแห่งนวัตกรรมโดยรวม มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0. กรุงเทพมหานคร: กระทรวง อุตสาหกรรม.
ขวัญชนนก แสงท่านั่ง. (2563). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology. 5 (7), 29.
ปาณิสรา จรัสวิญญู. (2561). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของวัฒนธรรมองค์กรและการจดัการความรู้ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมในจังหวัดแพงเพชร. วารสารวิทยาการจัดการ สมัยใหม่. 11 (1), 163.
ณัฐปภัสร์ สกุลพัฒน์รดา. (2565). การเป็นองค์การนวัตกรรมทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารศิลปการจัดการ. 6 (4), 1844.
ภารดี อนันต์นาวี. (2565). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มนตรี จำกัด.
มณีนุช ทรวงสุรัตนกุล. (2560). อิทธิพลของผู้บริหารระดับกลางในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่ง นวัตกรรม กรณีศึกษา: บริษัททรูคอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รสสุคนธ์ อินชัยเขา. (2561). การบริหารสถานศึกษาพอเพียงสู่สถานศึกษาแห่งนวัตกรรมด้วยการบริหารแบบมีส่วนร่วม. รางวัลแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice โรงเรียนลับแล ศรีวิทยา., 98.
วาทินี พูนทรัพย์. (2563). องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. ปริญญาปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2566). การจัดการสู่องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 11 (4), 1658-1667.
สมคิด สกุลสถาปัตย์. (2565). สมรรถนะสําคัญในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร “ศึึกษาศึาสตร์์ มมร” คณะศึึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลััยมหามกุฏราชวิทยาลััย. 10 (2), 266-280.
อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2560). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Ardashkin, I. B., Martyushev N. V., & Bezborodov, V. P. (2015). Problem methodology as one of the ways of innovative organization of educational process. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 166, 227-231.
Dundon, Elaine. (2002). The Seeds of Innovation: Cultivating the Synergy that Fosters New Ideas. New York: AMACOM., 362.
Drucker,P. (2015). Innovation and entrepreneurship. Abingdon: Routledge.
Guskey.T.R. (2000). Evaluating professional development. CA : Corwin Press.
Holder, Bob J. and Matter, Gary. (2008). The Innovative Organization. Online. Retrieved December 11, 2009. From: http://www.geocities.com/CollegePark/Library/1048/ innova.html.
Shapiro, S. M. (2006). 24/ 7 innovation a blueprint for surviving and thriving in an age of change. New York: McGraw-Hill.
Szabo, R., & Csontos, R. (2016). Efficient organizational renewal: The role of technological and management innovation. International Journal of Business Management and Research, 35-50.