การบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อให้เกิดทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียน ขยายโอกาสในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอนุภาคลุ่มน้ำโขง

Main Article Content

สิริศักดิ์ นิลเกตุ
นวัตกร หอมสิน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อให้เกิดทักษะอาชีพ ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอนุภาคลุ่มน้ำโขง  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะอาชีพ 2) พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะอาชีพ 3) ประเมินการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนขยายโอกาสในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอนุภาคลุ่มน้ำโขง โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน มีขั้นตอนการดำเนินงาน 3 ระยะคือระยะที่ 1 คือศึกษาสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง 488 คน ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ในการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 3 การประเมินการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง จำนวน 30 คน ประเมินและตรวจสอบแนวทางในด้านความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้  ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะอาชีพ โรงเรียนขยายโอกาสในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อนุภาคลุ่มน้ำโขง วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน นำมาแปลผลภาพรวมการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก    2. ผลพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะอาชีพ พบว่า สามารถแบ่งได้ 5 องค์ประกอบ 36 ประเด็นย่อยอยู่ในระดับมาก 3. ผลการประเมินการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะอาชีพ พบว่า ผลการประเมินการบริหารจัดการสถานศึกษาในด้านความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ มีระดับความคิดเห็นทุกด้าน อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย.

เตือนใจ อารีโรจนนุกูล. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เลือกศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนประเภทขยายโอกาส ที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่.

นฏกร ปิ่นสกุล. (2557). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมอาชีพของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16 (4), 71 - 81.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2544). ยอดกลยุทธ์การบริหารสาหรับองค์การยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

มนัสวี ศรีนนท์. (2558). วิเคราะห์การบริหารการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 ด้วยทฤษฎีการบริหาร การศึกษาเชิงระบบ. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร.”. 3 (2), 51 - 57.

ปนัดดา นกแก้ว. 2562(). ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิจารณ์ พานิช. (2555). การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์: เชาวน์ทางปัญญา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

ศุภโชค ปิยะสันติ์. (2558). รูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกอบอาชีพสำหรับโรงเรียน ในพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดารบทเรียนจากโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 9 (2), 175 – 189.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์:แนวคิดและทฤษฎี สุพานี สฤษฎ์วานิช. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2547). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร:

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. หนังสือทั่วไป ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร.

อนิวัช แก้วจำนง. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา:

Apaijai, N. (2010). Educational management model for career development for underprivileged children in high mountain and wilderness areas (Muangkud Model) Muangkud School. Chiang Mai: Muangkud School.

Bellanca, James A. and Brandt, Ron. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How StudentsLearn. Indiana: Solution Tree Press.

Duangnet, R. (2009). Community participation development students in career management of Ban Yang Keenok School Khueang Nai District, UbonRatchathani Educational Service Area Office 1 (Master thesis). Maha Sarakham: Mahasarakham University.

Wongluan, W. (2010). Evaluation of the income support program during the study of students in the Office of Chiang Rai Educational Service Area 2. Chiang Rai: Banmaeprik School.