กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล

Main Article Content

วนิดา บิณกาญจน์
สุบิน ยุระรัช
เกรียงไกร สัจจะหฤทัย

บทคัดย่อ

          กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลเป็นการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multi - Phase Mixed Method Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการ 3) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพกลยุทธ์การบริหารวิชาการ ประชากร คือ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 431 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 210 โรงเรียน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือการวิจัย คือ แบบประเมินกรอบแนวทางในการวิจัย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ แบบประเมินอรรถประโยชน์ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความถูกต้องของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนี PNImodified
           ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการสภาพแวดล้อมภายใน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพแวดล้อมภายนอกโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการสภาพแวดล้อมภายในโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด สภาพแวดล้อมภายนอกมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการโดยภาพรวม พบว่าจุดอ่อน คือ การวัดผลประเมินผลการเรียน และการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ จุดแข็ง คือ การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา และการบริหารการจัดการเรียนรู้ ภาวะคุกคาม คือ การเมืองนโยบายของรัฐ และสภาพสังคม และโอกาส คือ เทคโนโลยี และสภาพเศรษฐกิจ 3) ผลการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพกลยุทธ์การบริหารวิชาการ พบว่ากลยุทธ์หลักมีจำนวน 4 กลยุทธ์ กลยุทธ์รองมีจำนวน 16 กลยุทธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษิฎิฏฏ์ มีพรหม. (2562). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2565). รายงานสถานการณ์ด้านเด็กและเยาวชนประจําปงบประมาณ 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา: https://opendata.nesdc.go.th/dataset/ situation-of-children-and-youth-2022-q4

ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ และธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว. (2559). การสอนแบบทันสมัยและเทคนิควิธีสอนแนวใหม่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา: http://regis.skru.ac.th/RegisWeb/datafile download/25590714-15.pdf.

เทพสุดา เมฆวิลัย. (2563). กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล วรคำ. (2556). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2558). การประเมินหลักสูตร : แนวคิดกระบวนการและการใช้ผลการประเมิน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 8 (1),13-28.

พรพรรณ ธรรมธาดา. (2559). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พนม คลี่ฉายา. (2559). การใช้งานความเสี่ยง การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และแนวทางการสอนเพื่อการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับนักเรียนมัธยมในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์. 20 (1), 46-57.

เพ็ญพักตร์ มิ่งวงศ์ธรรม และ ลักขณา สริวัฒน์. (2561). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9 (1), 159-168.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2561). การบริหารการศึกษาใหม่: New Education Governance. การประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจร. สำนักธรรมศาสตร์ และการเมือง ประเภทวิชาศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา และมหาวิทยาลัยบูรพา.

พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุบัณฑิตวิทยาลัย: ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พวงสุรีย์ วรคามิน. (2562). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาลิณี จุโฑปะมา. (2552). จิตวิทยาการแนะแนว. บุรีรัมย์: เรวัตการพิมพ์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา: http://tdri.or.th/wp-content/uploads/2014/03/Final-Paper.pdf.

มนรัตน์ แก้วเกิด, สุกัญญา แช่มช้อย และ พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2564). ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 15 (1), 66-78.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2566). การพัฒนาหลักสูตร : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และ ดิเรก ศรีสุโข. (2559). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับ การวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เศกสรร สกนธวัฒน์. (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเครือเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิธร บัวทอง. (2560). การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (2), 1856-1867.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2558). แนวทางการจัดกิจกรรมทักษะชีวิตให้กับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานหลักสูตรและวิธีสอน.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. (2562). 8 ทักษะจำเป็นเพื่อก้าวสู่ “ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) & คนของศตวรรษที่ 21 อย่างภาคภูมิ”. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.salika.co/2019/04/03/8-skills-for-digital-citizenship/

สมเกียรติ สรรคพงษ์. (2562). รูปแบบการส่งเสริมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สริญณพัชร์ ธรรมบุศย์. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนภายใต้เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโกในประเทศไทย ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบองค์รวม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริภัคค์ ธรรมบุศย์. (2564). เปิดโลกกว้างสู่การเสริมพลังดิจิทัลทางการศึกษาเพื่อเยาวชนยุคนิวนอร์มัล. วารสารความร่วมมือกับต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ. 3 (4), 4-7.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2565 สำนักการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร.

อภิชา พุ่มพวง. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.