การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัด การเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ยุทธวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย

Main Article Content

ภัคลิษา ทวนทอง
วันดี เกษมสุขพิพัฒน์
สกล ตั้งเก้าสกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมการใช้ยุทธวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย และศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริม การใช้ยุทธวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย โดยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวบข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้น  ตัวแปรเดียว ที่ส่งเสริมการใช้ยุทธวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า มีนักเรียนที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในระดับดีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด โดยมีร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 78.75 และแนวทาง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ยุทธวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ได้แก่ การส่งเสริมให้นักเรียนได้อภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนเกี่ยวกับการเลือกยุทธวิธีที่ใช้ในการการทำความเข้าใจและวางแผนแก้ปัญหา ขั้นตอนการดำเนินการแก้ปัญหา และการตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำตอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นฤกวิน วัฒนรัตน์. (2565). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามแบบโสเครติส เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินทางการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปิยะมาศ ค้าโค. (2560). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดและยุทธวิธีที่หลากหลายในการแก้ปัญหา เรื่อง “การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว” การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาการสอนคณิตศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศศิพิมล กรัณย์ธัญเจริญ. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ยุทธวิธีที่หลากหลายร่วมกับการใช้คำถามที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขา การสอนคณิตศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2566). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: http://www.newonetresult.niets.or.th/ AnnouncementWeb/Login.aspx? Return Url=%2fAnnouncementWeb%2fSchool%2fReportSchoolBySchool.aspx%3fmi%3d&mi=

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567. แหล่งที่มา : https://www.scimath.org/ebook-mathematics/item/8380-2560-2551-8380

สมชาย โพธิจาทุม. (2564). การศึกษาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาณ ปริภูมิและรูปทรงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. (2564). การเรียนรู้แบบเพื่อนสอนเพื่อน (Peer Teaching). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.thailandpod.org/

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2558). เอกสารความรู้คณิตศาสตร์"ยุทธวิธีช่วยคิดคณิตศาสตร์” เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Trueplookpanya Media. (2021). Study Tips Life. Online. Retrieved February 15, 2024. From : https://www.trueplookpanya.com/plookfriends/blog/content/detail/90309