ปัจจัยและผลสำเร็จของการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบเชิงรุกของครูมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่หนึ่ง คือ เพื่อสังเคราะห์ลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบเชิงรุก โดยใช้การวิจัยเอกสาร สังเคราะห์ข้อมูลหลักการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและหลักการจัดการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจ ได้ผลการวิจัยเป็นลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบเชิงรุก 3 ประการ คือ 1) การจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความร่วมกับการนำเสนอผลการอ่านผ่านการพูดและเขียนเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนและครู 2) การจัดการเรียนรู้การอ่านวิเคราะห์และประเมินค่าที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์และวิจารณญาณ 3) การจัดการเรียนรู้การอ่านที่เชื่อมโยงชีวิตจริงผ่านการสำรวจและสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของการอ่านเพื่อการเรียนรู้และการนำผลการอ่านไปปรับใช้ในชีวิตจริง
วัตถุประสงค์ที่สองของการวิจัย คือ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและผลสำเร็จของการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบเชิงรุกของครูมัธยมศึกษา โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ สุ่มผู้ตอบแบบสอบถามแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน จำนวน 175 คน ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 50 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 50 คน โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 45 คน โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 30 คน โดยใช้แบบสอบถาม 40 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่และร้อยละ จากนั้นสุ่มผู้ให้สัมภาษณ์แบบหลายขั้นตอน จำนวน 18 คน ในโรงเรียนที่นักเรียนประสบความสำเร็จในการอ่านจากโรงเรียน 4 ขนาด จำนวน 8 คน และโรงเรียนที่นักเรียนได้ผลสัมฤทธิ์การอ่านต่ำกว่ามาตรฐานจากโรงเรียน 3 ขนาด จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบเชิงรุก คือ ครูจบการศึกษาตรงสาขาการสอนภาษาไทย มีประสบการณ์มากกว่า 5 ปี สอนภาษาไทยเป็นหลัก การจัดการเรียนรู้การอ่านร่วมกับการนำเสนอผลการอ่านผ่านการพูดและเขียน พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์และวิจารณญาณ เชื่อมโยงชีวิตจริงผ่านการสำรวจและสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของการอ่าน โรงเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ โครงการพัฒนาทักษะภาษาไทย ฐานการอ่านในชุมชน เขตพื้นที่การศึกษาสนับสนุนสื่อการสอนอ่าน นวัตกรรมการอ่าน จัดสรรอัตรากำลัง จัดอบรมพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยจัดโครงการค่าย ส่งนิสิตสาขาการสอนภาษาไทยออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ อนุญาตให้บุคลากรภายในเป็นวิทยากรโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบเชิงรุก ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การอ่านต่ำกว่ามาตรฐาน คือ ครูจบการศึกษาไม่ตรงสาขาการสอนภาษาไทย มีประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปี สอนภาษาไทยควบคู่กับวิชาอื่น การจัดการเรียนรู้การอ่านด้วยการบรรยาย บอกวิธีการ พูดให้รู้เป็นนัยถึงประโยชน์เรื่องที่อ่านในชีวิตจริง
Article Details
References
กมลพัทธ์ โพธิ์ทอง. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านและเขียนเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีสัมพันธบทเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. Silpakorn University Repository: SURE. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/10347
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). คำแถลงนโนบายการจัดการศึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. https://www.moe.go.th
กระทรวงศึกษาธิการ. (2567). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. https://www.moe.go.th
กลุ่มงานวัดและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. (2566). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566.
จิตต์นิภา ศรีไสย์. (2545). แนวทางใหม่สำหรับครูวิชาภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์ และ วิภาวรรณ เอกวรรณัง. (2563). การพัฒนาความสามารถในการรู้เรื่องการอ่านตามแนวทางการสอนแบบ PISA โดยใช้แนวคิดการอ่านจากต้นแบบของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 43 (1), 85-98.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 23). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปณิธาน หินผา. (2565). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่าน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้วิธีการสอนคิดออกเสียงร่วมกับบอร์ดเกมออนไลน์. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ. 11 (1), 104-119.
ประภาศรี เปี่ยมอยู่. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 4 (3), 403-416.
วนิดา ประคัลภ์กุล และ ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ. (2559). การศึกษาสภาการใช้ครูและการรับรู้ความสามารถในตนเองของครูประถมศึกษาที่สอนไม่ตรงวิชาเอก. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 11 (3), 390-406.
วัชรา เล่าเรียนดี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และ อรพิน ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 12). เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป.
สกุลการ สังข์ทอง. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 10 (2), 105-117.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2566). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2565). ผลการประเมิน PISA 2022.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning สู่สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. สำนักพิมพ์เซ็นจูรี่.
Anderson, N. J. (2013). Active skills for reading 3. Boston: Cengage Learning.
Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom. 1991 ASHE-ERIC higher education reports. ERIC Clearinghouse on Higher Education, The George Washington University, One Dupont Circle, Suite 630, Washington, Dc 20036-1183.
Bremer, C. D., Vaughn, S., Clapper, A. T., & Kim, A. H. (2002). Collaborative strategic reading (CSR): Improving secondary students' reading comprehension skills. Research to Practice Brief: Improving Secondary Education and Transition Services through Research.
Day, R. R., & Park, J. S. (2005). Developing reading comprehension questions. Reading in a foreign language. 17 (1), 60-73.
Fraser, C. (2024).Reading comprehension strategies. Academic Writing for Success Cannadian Edition 2.0.
Hartikainen, S., Rintala, H., Pylväs, L., & Nokelainen, P. (2019). The concept of active learning and the measurement of learning outcomes: A Review of research in engineering higher education. Education Sciences. 9 (4), 276.
https://doi.org/10.3390/educsci9040276
Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (2018). Cooperative learning: The foundation for active learning. Active learning-Beyond the future, 59-71. https://doi.org/10.5772/ intechopen.81086
Kompa, J. S. (2012). Disadvantages of teacher-centered learning. Joana Stella Kompa. Np, 25.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.
McWhorter, K. T. (2013). Reflections: Patterns for reading and writing. Macmillan Higher Education.
Nata, N. & Tungsirivat, K. (2017). Active learning for language skills development. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Hummanities, Social Sciences and arts. 10 (5), 506-515.
Phala, J., & Chamrat, S. (2019). Learner characteristics as consequences of active learning. Journal of Physics: Conference Series. 1340 (1), 1-12. https://doi.org/10.1088/ 17426596/1340/1/012083
Rao, N. K. (2020). Advantages and disadvantages of student-centered learning. Research Journal of English Language and Literature (RJELAL). 8, 132-134.
Sadiku, L. M. (2015). The importance of four skills reading, speaking, writing, listening in a lesson hour. European Journal of Language and Literature. 1 (1), 29-31. https://doi. org/10.26417/ejls.v1i1.p29-31
Sun, T. T. (2020). Active versus passive reading: how to read scientific papers?. National Science Review. 7 (9), 1422-1427. https://doi.org/10.1093/nsr/nwaa130
Vaughn, S., & Klingner, J. K. (1999). Teaching reading comprehension through collaborative strategic reading. Intervention in School and Clinic. 34 (5), 284-292. https://doi.org/ 10.1177/105345129903400505