แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

พนาวัน เปรมศรี
ภาสกร ดอกจันทร์
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง วิธีการศึกษาเป็นวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ใช้การคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยสูตร Taro Yamane เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณเชิงเส้นตรง (Multiple linear regression analysis) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก
           ผลการวิจัยพบว่า
           1) ระดับการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.98) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง อยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง (y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจำนวน 4 ตัวแปร เรียงลำดับผลต่อการผันแปรจากมากที่สุดไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารจัดการ (X8 Beta = .320) ด้านเงินหรืองบประมาณ (X6 Beta = .265) ด้านคนหรือบุคคล (X5 Beta = .118) และด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (X2 Beta = .084) และ 3) แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนล่าง พบว่า ควรมุ่งพัฒนาศักยภาพให้บุคลากรมีความพร้อมตอบสนองต่อนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยเฉพาะส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายในทุกขั้นตอนมากขึ้น และปรับพฤติกรรมส่วนบุคคลของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ทั้งการปรับทัศคติ และจิตสำนึกให้มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิติรัตน์ อิทธิมีชัย และคณะ. (2566). ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 6 (1), 139-149.

พนาวัน เปรมศรี และ โชติ บดีรัฐ. (2565). ผลสัมฤทธิ์การดำเนินการสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว. วารสาร Journal of modern Learning Development. 7 (9), 423-435.

โมทนา สิทธิพิทักษ์. (2558). การพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โมทนา สิทธิพิทักษ์, สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์ และพันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 49 (2), 1-10.

สราวุธ แพพวก และสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2566). แนวทางการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการมหาวิทยาลัยมหิดล. 10 (2), 171-191.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: John Wiley and Sons.