การพัฒนานโยบายส่งเสริมการมีงานทำสำหรับผู้สูงอายุขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจภาวะการมีงานทำจากการพัฒนานโยบายส่งเสริมการมีงานทำสำหรับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร 2) เพื่อศึกษาปัญหาที่ส่งผลต่อการพัฒนานโยบายส่งเสริมการมีงานทำสำหรับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนานโยบายส่งเสริมการมีงานทำสำหรับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ใช้การคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยสูตร Taro Yamane ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า
1. การสำรวจภาวะการมีงานทำต่อการพัฒนานโยบายส่งเสริมการมีงานทำสำหรับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( 2.73; S.D.= 0.71) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ภาวะการมีงานทำอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความต้องการแรงงานผู้สูงอายุของชุมชน ( = 3.97; S.D.= 0 .69) และ ด้านการสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ ( = 87; S.D. = 0.93) และอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ ด้านอัตราค่าจ้าง สวัสดิการผู้สูงอายุ ( 1.66; S.D. = 0 .55) 2.) ปัญหาที่ส่งผลต่อการพัฒนานโยบายส่งเสริมการมีงานทำสำหรับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร พบว่า ด้านข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ (Beta =.761) ปัญหาด้านการสร้างมุมมองใหม่ในสังคมสำหรับผู้สูงอายุ (Beta =.397) ด้านการขาดการประสานงานความร่วมมือในพื้นที่ (Beta =.439) ตามลำดับ และ 3.) แนวทางการพัฒนานโยบายส่งเสริมการมีงานทำสำหรับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร พบว่า แรงงานผู้สูงอายุต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือกับเอกชนให้ส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุ และต้องการให้จัดอบรมพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบัน รวมถึงร่วมบูรณาการขับเคลื่อนนโยบายกับหน่วยงานอื่น ๆ อย่างจริงจัง และติดตามผลการดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
Article Details
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ หจก.เทพเพ็ญวานิสย์.
เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และสุภรต์ จรัสสิทธิ์. (2564) สถานการณ์และแนวโน้มสภาพการทำงานของผู้สูงอายุไทย: การวิเคราะห์จากข้อมูลการสำรวจระดับประเทศ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์. (2562). การศึกษาระบบบริการสุขภาพ ระบบการจ้างงาน และระบบสวสัดิการสังคม เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลีนิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 36 (4), 321-331.
พงษ์มนัส ดีอด และสุกัญญา เอมอิ่มธรรม. (2565). การวิเคราะห์แนวทางส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในประเทศไทย: ความหลังและความฝัน. วารสารPAAT Journal (ฉบับพิเศษครบรอบปีที่ 3). 3 (ฉบับพิเศษ), 172-192.
รายงานข้อมูลอำเภอวชิรบารมี. (2566). หมอรู้จัก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_tambon.
วารุณี พูลสวัสดิ์ และคณะ. (2563). ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3 (2), 92-104.
วิไลลักษณ์ พรมเสน และอัจฉริยา ครุธาโรจน์. (2560). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปางต่อการส่งเสริมการมีงานทำและการสร้างรายได้แก่ผุ้สูงอายุ. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 10 (2), 70-91.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
เสาวลักษณ์ ชายทวีป. (2560). ปัญหาเชิงโครงสร้างของแรงงานไทยและเส้นทางชีวิตแรงงาน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 37 (1), 38-51.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3). New York: John Wiley and Sons.