การพัฒนาการเรียนรู้แบบนำตนเองของนิสิตในรายวิชา มศว 361 มศว เพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Main Article Content

ถนอมศักดิ์ ศรีจันทรา

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการพัฒนาการเรียนรู้แบบนำตนเองของนิสิตในรายวิชา มศว 361 มศว เพื่อชุมชน  เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ตัวอย่าง คือ นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่ศึกษาในรายวิชา มศว 361 มศว เพื่อชุมชน ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2566  จำนวน 267 คนที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มเดียวกัน 2 ครั้ง (Pair T-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาการเรียนรู้แบบนำตนเองของนิสิตก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับดี (  = 2.47, S.D. = 0.34 และ  = 2.95, S.D. = 0.11) หลังการจัดการเรียนการสอน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับดี คือ ด้านความต้องการในการเรียน (  2.97, S.D. = 0.13) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาการเรียนรู้แบบนำตนเองของนิสิตก่อนและการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมด้วย pair t-test มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = - 28.942) โดยหลังการจัดการเรียนการสอน นิสิตมีการพัฒนาการเรียนรู้แบบนำตนเองสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดการเรียนการสอนทั้งในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความต้องการในการเรียน ด้านการกำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียน ด้านการดำเนินการเรียนรู้จากแหล่งวิทยาการและด้านการประเมินผล ข้อเสนอแนะ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนควรให้ความสำคัญกับความหลากหลายและความแตกต่างกันของผู้เรียนเพื่อเลือกแนวทางกระตุ้นผู้เรียนได้เหมาะสมและผสมสานการเรียนรู้แบบนำตนเองกับแนวทางการสอนวิธีอื่น


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

กิร์สติ โลนกา. (2563). Phenomenal Learning: นวัตกรรมการเรียนรู้แห่งอนาคตแบบฟินแลนด์.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บุ๊คสเคป.

เขมกร อนุภาพ. (2560). การใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อพัฒนาการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยาลัยครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน และ เฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 46 (1), 218-253.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นําาตนเอง : กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารพยาบาลทหารบก. 16 (1), 8-13.

เพลินพิศ ธรรมรัตน์. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบแบบผสมผสานด้วยวิธีการเรียนรู้แบบนำตนเอง รายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาสายครู. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9 (33), 12-23.

สุรางค์โค้วตระกูล. (2544).จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Griffin, Colin. (1983). Curriculum Theory in Adult Lifelong Education. London: Croom Helm.

Knowles M.S. (1975). Self-Directed Learning: A Guide for Learner and Teachers. Chicago: Association Press.

Tough, Allen. (1971). The Adult’s Learning Projects. Toronto, Ontorio: The Ontorio Institute for Studies in Education.

Yamane, Taro. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.