ยุทธศาสตร์การพัฒนาทีมผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคะวันตก

Main Article Content

ศุภกิจ จงศักดิ์สวัสดิ์
วันชัย ปานจันทร์
อรไท ชั้วเจริญ
นวลละออ แสงสุข

บทคัดย่อ

           มหาวิทยาลัยราชภัฏมีผู้บริหารระดับสูงที่เป็นผู้บังคับบัญชาทั้งระดับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศในกฎกระทรวง ซึ่งจะต้องสามารถเชื่อมต่อทุกภาคส่วน และบริหารงานเชิงบูรณาการเพื่อให้การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ ดังนั้นทีมผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏจึงต้องมีความสามารถในการทำงานเป็นทีมได้เป็นอย่างดี
           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการณ์ของทีมผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันตก 2. กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาทีมผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันตก และ 3. ประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาทีมผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันตก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร และข้อมูลที่ได้จากภาคสนาม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 28 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง และประเมินผลยุทธศาสตร์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปข้อมูลจากบันทึกภาคสนามที่เป็นส่วนบันทึกโดยละเอียดหรือบันทึกเชิงพรรณนา
           ผลการวิจัยพบว่า
           1) ทีมผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันตก มีอธิการบดีหรือหัวหน้าทีมเป็นจุดแข็งของทีมเพราะมีความรู้ และประสบการณ์การบริหาร อีกทั้งสมาชิกของทีมมีประสบการณ์ด้านการบริหาร และเคยบริหารงานร่วมกันมาก่อน ด้านจุดอ่อนทั้ง 4 มหาวิทยาลัยมีทิศทางเดียวกัน คือ ขาดการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเป็นผู้บริหาร และผู้บริหารรุ่นใหม่มีประสบการณ์การบริหารน้อย 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทีมงานด้านทัศนคติพบว่าทั้ง 4 มหาวิทยาลัยต้องการพัฒนาทีมด้านทัศนคติทุกด้าน รองลงมาพัฒนาทัศนคติด้านความเชื่อมั่นในทีม  และการยอมรับสมาชิกของทีม ด้านทักษะการทำงานเป็นทีมพบว่าทั้ง 4 มหาวิทยาลัยควรพัฒนาทุกด้าน ทั้งนี้ควรมุ่งเน้นพัฒนาด้านการมีระบบการสื่อสาร การประสานงาน การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และการตัดสินใจร่วมกัน สำหรับการพัฒนารูปแบบการทำงานเป็นทีมนั้นมุ่งเน้นพัฒนาให้เป็นทีมกลยุทธ์ และทีมข้ามสายงาน 3) การประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาทีมโดยผู้ทรงคุณวุฒิเห็นสอดคล้องว่าทุกด้านมีความเป็นไปได้มากที่สุด กล่าวคือ ด้านทัศนคติมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.67 ด้านทักษะมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.77 และด้านรูปแบบทีมมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.73
           ดังนั้นผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันกควรให้ความสำคัญกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาทีมผู้บริหารระดับสูงทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านทัศนคติต่อทีม ด้านทักษะการทำงานเป็นทีม และรูปแบบทีม เพื่อให้การบริหารงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยเปี่ยมประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


         

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจนิสา สกุลเลิศวิรัตน์, วริษา เลิศเมือง และ ภาวิณี กาญจนาภา. (2566). การสำรวจทัศนคติต่อการตัดสินใจเลือกผู้นำประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 11 (12), 89-102.

ณัฏฐริดา บุ้งทอง, สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์ และ อภิธีร์ ทรงบัณฑิต. (2561). สมรรถนะการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการบริหารบุคคลของผู้บริหารสถาน ศึกษา สำนักงานเขตคลองสาน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 15 (28), 204-214.

มนัส สายเสมา, บุญเรือง ศรีเหรัญ และ ชาญชัย วงศ์สิริสวัสดิ์. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 8 (2), 75-84.

เมธี ฉายอรุณ. (2558). ภาวะผู้นำด้านการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ และยุทธศาสตร์การบริหารองค์กรอัจฉริยะ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนของผู้บริหารระดับคณะวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. ปรัชญาดุษฏีนิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2556). ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2559. แหล่งที่มา: http://www.uptraining.co.th/index.php/knowledge-2/440-teamwork-importan.html.