รูปแบบการสร้างองค์กรนวัตกรรมสำหรับกรมบัญชีกลาง

Main Article Content

อมรเทพ ทองเพชร
ชมสุภัค ครุฑกะ
สุมิตรา เรืองพีระกุล
ดวงเดือน จันทร์เจริญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาปัจจุบันเกี่ยวกับองค์กรนวัตกรรมสำหรับกรมบัญชีกลาง (2) สร้างรูปแบบการสร้างองค์กรนวัตกรรมสำหรับกรมบัญชีกลาง และ (3) ประเมินรูปแบบการสร้างองค์กรนวัตกรรมสำหรับกรมบัญชีกลาง โดยผู้วิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการดำเนินการเกี่ยวกับองค์กรนวัตกรรมสําหรับกรมบัญชีกลาง โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการเกี่ยวกับการเป็นองค์กรนวัตกรรม รวมทั้งสิ้น 9 คน เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาและจัดกลุ่มและแจกแจงความถี่สภาพปัจจุบันและปัญหา
(2) สร้างรูปแบบองค์กรนวัตกรรมสําหรับกรมบัญชีกลางโดยนำข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการศึกษาสภาพและปัญหา มาเป็นกรอบในการสร้างรูปแบบ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และหาค่ามัธยฐาน และส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์ (3) ประเมินรูปแบบองค์กรนวัตกรรมสําหรับกรมบัญชีกลางโดยการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่ และร้อยละ
          ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันการดำเนินการเกี่ยวกับองค์กรนวัตกรรมสําหรับกรมบัญชีกลาง พบว่า ผู้นำมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีต้นแบบเป็นแรงบันดาลใจเพื่อสร้างนวัตกรรม สำหรับปัญหา พบว่ายังไม่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ด้านนวัตกรรม และไม่มีการกำหนดการสร้างนวัตกรรมเป็นตัวชี้วัด (2) รูปแบบการสร้างองค์กรนวัตกรรมสำหรับกรมบัญชีกลาง ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบหลัก ได้แก่  ผู้นำ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และ
กลยุทธ์ แรงจูงใจและการให้รางวัล ระบบและกระบวนการทํางาน การพัฒนาทักษะและความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากร การจัดสรรทรัพยากรและเทคโนโลยี ค่านิยมและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการทํางาน และทีมงานนวัตกรรม (3) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรูปแบบองค์กรนวัตกรรมสําหรับกรมบัญชีกลาง เห็นว่ารูปแบบฯ มีความเหมาะสม เป็นไปได้และเป็นประโยชน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมบัญชีกลาง. (2567). ข้อมูลองค์กร วิสัยทัศน์ พันธกิจ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งที่มา: https://www.cgd.go.th/cs/internet/วิสัยทัศน์/พันธกิจ.html?page_locate=th_TH

กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม: แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัทธี จิตสว่าง. (2550). องค์ประกอบขององค์การนวัตกรรม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566.แหล่งที่มา: http://www.correct.go.th/temp_image/km.htm

นันท์นภัส สินจนานุรักษ์ (2562). รูปแบบการพัฒนาองค์กรนวัตกรรมสำหรับกลุ่มภารกิจด้านรายได้ของกระทรวงการคลัง. ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รมิดา กาญจนะวงศ์, นงนุช วงษ์สุวรรณ และวิภาวรรณ กลิ่นหอม. (2565). การศึกษาแนวทางส่งเสริมธุรกิจ SMEs จังหวัดจันทบุรี สู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 9 (1), 82-90.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2 (4), 2-16.

มณีนุช ทรวงสุรัตนกุล. (2559). อิทธิพลของผู้บริหารระดับกลางในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม กรณีศึกษา: บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จากัด (มหาชน). วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 9 (1), 283-297.

สินีนุช ศิริวงศ์ (2560). วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ : การเดินทางสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม. วารสารแพทย์นาวี. 44 (3), 161-174.

Arben Jusufi.(2023). Relationship Betaween Innovation and Financial Performance In The

Global Environment Of Exporting Companies. Journal of Liberty and International Affairs. 9 (2), 74-88.

Carlson, Curtis R,, & Wilmot, William W. (2006). Innovation: The five discipline for creating what customers want. Massachusetts :.Crown Business.

Jasenka Haleus, Armand Faganel. (2023). Creative Competencies and Innovation Marketing in the Context of Defining the Determinants of a Company's Competitive Strategy. Journal of Universal Excellence. 12 (4), 336-355.

Kuczmarski, T. D. (2003). What is innovation? And why aren't companies doing more of it?. The Journal of Consumer Marketing. 20 (6), 536-541.

Mengjuan Fan, Wu Huang, Shengxu Xiong. (2023). How enterprise interactions in innovation networks affect technological innovation performance: The role of technological innovation capacity and absorptive capacity. 1-23.

Pascale, Richard T; Athos, Anthony G (1982).The art of Japanese management : applications for American executives. New York: Warner Books

Quinn, J. B. (1991). Managing innovation: Controlled chaos. Harvard Business Review. 63 (3),

-28.

Santos, G., Afonseca, J., Lopes, N., Félix, M. J., & Murmura, F. (2018). Critical success factors in the management of ideas as an essential component of innovation and business excellence. International Journal of Quality and Service Sciences,

Singh, A. (2013) A Study of Role of McKinsey’s 7S Framework in Achieving Organizational Excellence. Organizational Development Journal. 31, 39-50.

Tidd, J., & Bessant, J. (2021). Managing Innovation: Integrating Technological, Market and Organizational Change (7th ed.). Hoboken :Wiley.

Von Stamm, B. (2008). Managing innovation, design and creativity (2nd ed.). Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.

Yingjing Chu, Liyuan Pang, Fairtown Zhou Ayoungman.(2023) Research on the Impact of Enterprise Innovation and Government Organization Innovation on Regional Collaborative Innovation. Journal of Organizational and End User Computing. 35 (3), 1-15.