การสร้างสรรค์ดนตรีเครื่องกระทบอีสานร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์ดนตรีเครื่องกระทบอีสานร่วมสมัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบอีสาน และ 2) เพื่อสร้างสรรค์ดนตรีเครื่องกระทบอีสานร่วมสมัย ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ด้านศิลปะการแสดงและการประพันธ์เพลง (2) นักดนตรีพื้นบ้านอีสาน และ (3) นักดนตรีสากล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ได้องค์ความรู้สู่การสร้างสรรค์บทเพลงและนำเสนอรายงานการวิจัยและผลงานการสร้างสรรค์สู่สาธารณชน ผลการวิจัยพบว่า
1) เครื่องกระทบอีสานเมื่อแบ่งหมวดหมู่ตามแนวคิดของดนตรีสากล สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เครื่องกระทบกลุ่มที่เป็นทำนองและเครื่องกระทบกลุ่มที่ไม่เป็นทำนอง ในปัจจุบันเครื่องกระทบกลุ่มที่เป็นทำนองที่นิยมนำมาใช้มีเพียงโปงลาง พิณไห หรือไหปลาร้าในปัจจุบัน มีการพัฒนานำเครื่องดนตรีประยุกต์มาใช้แทนในบางโอกาส
2) การสร้างสรรค์ดนตรีเครื่องกระทบอีสานร่วมสมัย จากการจำแนกเครื่องกระทบอีสานตามหลักแนวคิดสากลแล้ว ทำให้เกิดแนวคิดผลงานสร้างสรรค์ดนตรีเครื่องกระทบอีสานแบบร่วมสมัยในสไตล์ดนตรีตะวันตก ในชุดเพลง “ตีเกราะเคาะไม้” ประกอบด้วยบทเพลง 3 บทเพลง ได้แก่ เพลงสารคาม เพลงสาเกตนคร และเพลงสุระอินทร์ ทำให้เกิดเสียงใหม่แต่ยังคงไว้ซึ่งความคลาสสิกแบบดั้งเดิม เป็นการยกระดับเสียงสำเนียงอีสาน เปิดมุมมอง มิติใหม่ให้แก่ผู้เล่น และผู้ฟังที่นิยมความเป็นแบบร่วมสมัย
Article Details
References
กรมศิลปากร. (2544). เครื่องดนตรีไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
คมสันต์ วงค์วรรณ์. (2548). เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา https://musiclib.psu.ac.th/data/western-musuc/chapter3/chap3-4.htm
เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2526ก). ดนตรีพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม: ภาควิชาดุริยางคศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จังหวัดมหาสารคาม.
เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2526ข). ดนตรีและการละเล่นพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม: ภาควิชาดุริยางคศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จังหวัดมหาสารคาม.
จีรพล เพชรสม. ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด. (21 กุมภาพันธ์ 2566). สัมภาษณ์.
ฉลองชัย ทัศนโกวิท. (2563). การสร้างสรรค์บทเพลงขับขานประสานเสียง “สร้างปัญญา ศรัทธาความดี”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 12 (1), 78-112.
ชาลี เพ็งจิ๋ว. พันจ่าเอก ดุริยางคศิลปินระดับอาวุโส สำนักการสังคีตกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (29 ตุลาคม 2565). สัมภาษณ์.
ฐิตินันท์ เจริญสลุง และคณะ. (ม.ป.ป.). งานสร้างสรรค์ทางดนตรี: ดนตรีพรรณนา “วิหคเริงรมย์” สำหรับการบรรเลงด้วยวงทรอมโบนควอร์เท็ตและวงสตริงคอมโบ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา https://research.bkkthon.ac.th/abstac/ab_20052563162712.pdf.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2563). ทฤษฎีเพื่อการวิจัยและสารัตถบทดนตรี. ลพบุรี: โรงพิมพ์นาฏดุริยางค์.
ทินกร อัตไพบูลย์. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประธานหลักสูตรสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. (18 กุมภาพันธ์ 2566). สัมภาษณ์.
ธนดล ภาษี. (2559). ภาคอีสาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2367. แหล่งที่มา https:// balltanadolblog.wordpress.com/ภาคอีสาน/
นันธิดา จันทรางศุ, สุรสีห์ ชานกสกุล และ สกาวรุ้ง สายบุญมี. (2563). ทิศทางการสอนดนตรีโลก: นิยาม หลักการ และข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 48 (1), 142-163.
ภิภพ ปิ่นแก้ว. (2559). ปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านอีสานขั้นพื้นฐาน. อุดรธานี: สาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
โยธิน พลเขต. (2563). เครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานประเภทกำกับจังหวะโปงลาง. ร้อยเอ็ด: วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา http://media.bpi.ac.th/admin/attach/
w2/f20180927174205_YV5j3ZiXgV.pdf.
วีรยุทธ สีคุณหลิ่ว. (2559). การอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน กรณีศึกษาวัดพรหมคุณาราม เมืองฟีนิกส์ มลรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา https://hujmsu. msu.ac.th/pdfsplit.php?p=MTU5OTAxNDA3OS5wZGZ8MTQyLTE1MA==
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์. (2526). เพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพมหานคร: กรุงสยามการพิมพ์.
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2565). เรวัฒน์ สายันเกณะ “หนุ่มภูไท” - ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566. แหล่งที่มา https://cac.kku.ac.th/cac2021/เรวัฒน์-สายันเกณะ-หนุ่ม/.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2528). ดนตรีพื้นบ้านและศิลปะการแสดงของไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สุกรี เจริญสุข. รองศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตรา. (29 ตุลาคม 2565 และ 1 มีนาคม 2566). สัมภาษณ์.
สุพรรณี เหลือบุญชู. (2541). ดนตรีและศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุพรรณี เหลือบุญชู. (2564). บทเพลงไทยสำเนียงภาษา ตับต้นเพลงเต้ย จากภูมิเพลงสำเนียงไทยอีสาน. วิจัยสร้างสรรค์ได้รับทุนสนับสนุนงานสร้างสรรค์จากงบประมาณแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
Jpaliotto. (2021). What is Pima?. Online. Retrieved January 21, 2023. from https://www.theguitar
journal.com/what-is-pima/.