การศึกษาการใช้คำกริยาอายตนในภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

Main Article Content

สิริญญา สุขสวัสดิ์
ขนิษฐา ใจมโน
บุญเหลือ ใจมโน
สนม ครุฑเมือง

บทคัดย่อ

          คำที่มีความหมายคู่กันหรือใกล้เคียงกันเป็นลักษณะหนึ่งของความรุ่มรวยทางภาษา เป็นคลังศัพท์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้คำได้อย่างหลากหลายตามกาลและเทศะ ในทางกลับกัน หากผู้ใช้ภาษาไม่ได้เป็นเจ้าของภาษา ก็อาจสร้างความยุ่งยากในการเลือกใช้คำกลุ่มนี้ได้ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้คำกริยาอายตนในภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ในกลุ่มนักศึกษาจีนชั้นปีที่ 3-4 สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 81 คน โดยเก็บข้อมูลจากแบบทดสอบความเข้าใจการใช้อายตนกริยาในภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ จำนวน 87 ข้อ ในหมวดคำกริยาอายตน 29 คู่คำ ผลการวิจัยพบการใช้คำอายตนกริยาในภาษาไทยของนักศึกษาจีนใน 3 แบบ คือ 1) คำกริยาที่ใช้ถูกต้องทั้งหมด 11 คู่คำ โดยสามารถจำแนกออกเป็น 5 กลุ่มอายตนกริยาที่เกี่ยวกับร่างกาย ดังนี้ 1.1 อายตนกริยาที่เกี่ยวกับมือจำนวน 7 คู่คำ 1.2 อายตนกริยาที่เกี่ยวกับเท้าจำนวน 1 คู่คำ 1.3 อายตนกริยาที่เกี่ยวกับปากจำนวน 1 คู่คำ 1.4 อายตนกริยาที่เกี่ยวกับตาจำนวน 1 คู่คำ 1.5 อายตนกริยาที่เกี่ยวกับจมูกจำนวน 1 คู่คำ 2) คำกริยาที่ใช้ผิดทั้งหมดจำนวน 1 คู่คำ คือคู่คำกริยาคำว่า “ทิ่ม-แทง” 3. คำกริยาที่ใช้ถูกและผิดบางส่วนจำนวน 17 คู่คำ พบว่านักศึกษาใช้ถูกมากกว่าผิด จำนวน 10 คู่คำ และเลือกใช้ผิดมากกว่าถูก จำนวน 7 คู่คำ ผลการวิจัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นการใช้คำอายตนกริยาในภาษาไทยของนักศึกษาจีนถึงสาเหตุของการเลือกใช้คำผิดมากกว่าคำที่ถูกต้องอันเนื่องมาจากการแทรกแซงภาษาและการแทนที่ภาษาโดยเฉพาะภาษาแม่ของผู้เรียน อย่างไรก็ดี ปัญหาเหล่านี้อาจแก้ไขได้หากผู้เรียนมีคลังศัพท์ หรือประสบการณ์ทางภาษาที่มากพอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา พุทธเมตะ. (2554). การศึกษาข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาในโครงการความร่วมมือทางวิชาการวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาภาษาไทย คณะภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศ กวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2552. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 3 (5), 23 – 30.

ชัชวดี ศรลัมพ์. (2562). ภาษาและความหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

นนทิยา จันทร์เนตร์. (2558). วิวัฒนาการคำกริยาวิเศษณ์บอกลักษณะในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี

บัณฑิต. คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นนทิยา จันทร์เนตร์. (2561). คำคุณศัพท์บอกลักษณะที่รับรู้ทางอายตนะทั้ง 6 ในสมัยสุโขทัย. รมยสาร. 16 (1). 401 – 415.

นันทา ทองทวีวัฒนะ. (2562). การศึกษาปัญหาการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาต่างชาติมหาวิทยาลัยอัสสัม ชัญ. วรรณวิทัศน์. 19 (1), 160 – 178.

นิภา กู้พงษ์ศักดิ์. (2555). ปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาต่างชาติ: กรณีศึกษานักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 31 (1), 123 – 139.

ปริญญา วงษ์ตะวัน. (2559). การบ่งชี้แหล่งที่มาของข้อมูลที่แสดงผ่านอายตนกริยาในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต. คณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภาษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. (2556). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ยุพิน จันทร์เรือง และสมหวัง อินทร์ไชย. (2564). การศึกษาข้อผิดพลาดด้านการใช้คำที่มีความหมายคล้ายกันในภาษาไทยของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 11 (1), 134 – 141.

วิโรจน์ กองแก้ว. (2564). ปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นวิชาเอก มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 15 (2), 147 – 170.

สุชาดา เจียพงษ์. (2562). คำคล้ายในภาษาไทย: การวิเคราะห์รูปคำและความหมาย. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16 (2), 49 – 57.

OU LIUFEN. (2561). ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาชาวจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2561. 4 พฤษภาคม 2561. อาคารพระพิฆเนศ.

Nida, Eugene A. (1975). Componential Analysis of Meaning. Mouton: The Hague.