การเสริมสร้างสมรรถนะครูโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสมรรถนะและแนวทาง 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบ 3) การประเมินรูปแบบ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จำนวน 213 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารงานวิจัย สอบถามความคิดเห็นผู้บริหารและครู ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและครู ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลสมรรถนะแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบและตรวจสอบโดยการสนทนากลุ่ม ผู้บริหารระดับสูง อาจารย์ระดับอุดมศึกษา ผู้บริหารมาปรับปรุงแก้ไขเป็นรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูฉบับสมบูรณ์ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเป็นประโยชน์ความเป็นไปได้ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของสมรรถนะครูมี 3 ด้านคือ ด้านความรู้ 1) การจัดการศึกษาสงเคราะห์
2) การจัดการเรียนรู้นักเรียนประจำ/หอพัก 3) จิตวิทยาเด็ก 4) การดูแลนักเรียนประจำ/หอพัก 5) วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ 6) ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 7) ส่งเสริมอาชีพ 8) สถานการณ์ปัจจุบัน ด้านทักษะ 1) ออกแบบการจัดการเรียนรู้ 2) การสื่อสาร 3) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 4) ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ 5) การจัดสภาพแวดล้อม 6)ปฐมพยาบาลเบื้องต้น 7) การให้คำปรึกษา 8) การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง ด้านคุณลักษณะภายใน 1) การเป็นแบบอย่างที่ดี 2) มีความเสียสละ 3) จัดการอารมณ์ 4) มีความอดทน 5) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 6) ศรัทธาในวิชาชีพ 7) มีความรับผิดชอบ 8) มีความรัก เมตตา แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะ คือ 1) ฝึกอบรมให้ความรู้ 2) ทำคู่มือปฏิบัติงาน 3) การโค้ช 4) การสร้างชุมชน 5) ศึกษาดูงาน 2. รูปแบบการเสริมสร้าง ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิด แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะ 4 ขั้น คือ วางแผน (Plan) ดำเนินการ (Do) ตรวจสอบ (Check) ปรับปรุง (Act) กรอบแนวคิดเนื้อหาสมรรถนะครู 3. รูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะครู ภาพรวมมีความเป็นประโยชน์และเป็นไปได้ในการนำไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กรรณิการ์ นาคอยู่ และคณะ. (2547). การพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
กฤษฎา เรือนทองดี. (2549). รูปแบบการจัดการศึกษาหลักสูตรวิชาชีพช่างอุตสาหกรรมระบบทวิภาคีในสถานศึกษากลุ่มอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ขจรศักดิ์ หาญณรงค์. (2544). ความหมายสมรรถนะ. กรุงเทพมหานคร: ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เข็มทอง แสวง. (2544). ความต้องการและปัญหาการพัฒนาบุคลากรของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2550). มารู้จัก Competency กันเถอะ. กรุงเทพมหานคร: เอชอาร์เซ็นเตอร์.
นารีรัตน์ ตั้งสกุล. (2542). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรโดยกระบวนการบริหารตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บัญชร จันทร์ดา. (2561). มาตรฐานการดูแลนักเรียนประจำของโรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. นครปฐม: โรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
ปกรณ์ ปรียากร. (2544). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพานิช.
พนัส หันนาคินทร์. (2542). หลักการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2544). การบริหารทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยสารคาม.
ยนต์ ชุ่มจิต. (2553). ความเป็นครู. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้า.
ยิ่งศักดิ์ พิณภิรมย์. (2555). การบริหารงานการดูแลนักเรียนประจำ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่จันจังหวัดเชียงราย. (รายงานการพัฒนา). สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. เชียงราย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2547). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
สมบัติ นพรัก. (2561). ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาศาสตร์การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง
สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ. (2550). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2552). คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสังกัดที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2555). แนวทางการนิเทศการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.
อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2547). แนวคิดเรื่อง สมรรถนะ Competency : เรื่องเก่าที่เรายังหลงทาง.Chulalongkorn Review. 16 (3), 57 – 72.
Keeves, J.P. (1988). Education Research: Methodology and Measurement and International Handbook. Oxford : Perman.
Mondy, R.W., Noe. (1996). Satisfaction in the White-Collar Job. Michigan: University of Michigan.
Nadler, L. (1980). Corporate Human Resource Development: A Management Tool. Houston : Gulf.
Rogoff, R.L. (1987). The training wheel: a simple model for instructional design. New York : J Wiley.
Spencer, L.M. and Spencer, S.M. (1993). Competence at Work: Models for Superior Performance. John Wiley & Sons, New York.