การศึกษารูปแบบการประเมินการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่น กรณีศึกษารางวัลธรรมาภิบาลระดับชาติ

Main Article Content

ชาญวิชย์ อริยาวรนันต์
ภูวาเดช โหราเรือง
ถิรวัฒน์ แจ่มกระจ่าง
สรณะ เทพเนาว์
พลเดช ปิ่นประทีป

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาและอุปสรรคของการได้รับรางวัลธรรมาภิบาล 2) การเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นโดยใช้รางวัลธรรมาภิบาลเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน 3) แนวทางการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการประเมินผล สำหรับรางวัลธรรมาภิบาล และ4) แนวทางในการพิจารณารูปแบบการประเมินการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นผ่านกลไกรางวัลธรรมาภิบาลระดับชาติ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม พื้นที่วิจัย คือกลุ่มตัวอย่างขององค์กรท้องถิ่นที่ได้รับรางวัล และไม่ได้รับรางวัล จำนวนทั้งหมด 8 องค์กร จำนวน 4 คนต่อองค์กร มากกว่า 32 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
        1) ปัญหาและอุปสรรคของการได้รับรางวัล     ธรรมาภิบาล พบว่าความรู้ไม่เพียงพอในการให้ข้อมูล งบประมาณไม่เพียงพอ และขาดแคลนบุคลากร 2) การเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นโดยใช้รางวัลธรรมาภิบาลเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน พบว่าการให้รางวัลเป็นกลไกหลักที่สำคัญทำให้โครงการสำเร็จด้วยดี 3) แนวทางการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการประเมินผล สำหรับรางวัลธรรมาภิบาล พบว่า การประเมินผลรางวัลธรรมาภิบาลด้วย CIPP มีข้อจำกัดด้านเวลาและทรัพยากร ความซับซ้อน และความเที่ยงตรง  และ 4) เป็นแนวทางในการพิจารณารูปแบบการประเมินการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นผ่านกลไกรางวัลธรรมาภิบาลระดับชาติ พบว่า รูปแบบการประเมินยังไม่สามารถใช้ขับเคลื่อนธรรมภิบาลท้องถิ่นองค์รวมได้อย่างแท้จริง โดยแนวทางพิจารณาที่เหมาะสม ควรมุ่งเน้นเรื่องบุคลากร และงบประมาณ เป็นสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ. (2566). รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง: ทำอย่างไรให้การประเมิน ITA น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับของเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน (เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ครั้งที่ 10/2566).

ถวิลวดี บุรีกุล. (2558). ธรรมาภิบาล กลไกสำคัญในการปฏิรูปเพื่อพัฒนาประเทศ. สถาบันพระปกเกล้า.

ปิยากร หวังมหาพร. (2562). การวิเคราะห์รางวัลธรรมาภิบาลของประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 8 (2). 25-37.

ปิยากร หวังมหาพร. (2562). การสำรวจข้อมูลธรรมาภิบาลในประเทศไทย : Good Governance Mapping. สถาบันพระปกเกล้า.

พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546. (2546, 9 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก. หน้า 1-16.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542. (2542, 10 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 63 ง. หน้า 24-30.

รัชยา ภักดีจิตต์. (2555). ธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารภาครัฐและภาคเอกชน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รณรงค์ จันใด, ปุณิกา อภิรักษ์ไกรศรี และ สุนิษา ฝึกฝน. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์การประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2565. สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2546). คู่มือ คำอธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546. สิรบุตรการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2566). ความเป็นมาอปท.ที่มีการบริหารจัดการที่ดี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://odloc.go.th/ good-management/gm-history/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). (2563). หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลบริการภาครัฐ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.