การสร้างสรรค์การแสดง เรื่อง พระนางกาไว เมืองเพนียด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและออกแบบกระบวนการสร้างสรรค์การแสดง เรื่อง พระนางกาไว เมืองเพนียด เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร และการสัมภาษณ์โดยใช้เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ การแสดง และใช้การวิจัยเชิงปริมาณประเมินผลงานการแสดง
ผลการวิจัย พบว่า ตำนานพระนางกาไว เป็นตำนานประจำท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี มีโครงเรื่องสอดคล้องกับโบราณสถานเมืองเพนียดและชนชาวชอง ผู้วิจัยได้นำสำนวนของนายธรรม พันธุ์ศิริสด มาสร้างสรรค์การแสดง ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างการแสดงแสงและเสียง ละครพันทาง ละครเพลง และเทคนิคสื่อผสม ใช้ทฤษฎีการแปรรูปวรรณกรรมและทฤษฎีสตรีนิยมในการนำเสนอบทบาทของพระนางกาไว ในภาวะความเป็นผู้นำ มีกระบวนในการออกแบบการแสดงดังนี้ 1) บทการแสดงผสมผสานภาษาชาติพันธุ์ชอง 2) บทบาทตัวละครและคุณสมบัติของนักแสดง มีภาวะความเป็นผู้นำ มีทักษะนาฏศิลป์ไทยและการแสดงละคร 3) ลีลาและกระบวนท่าทางเป็นท่าทางธรรมชาติและท่าทางนาฏศิลป์ไทย 4) ดนตรีและเพลงประกอบการแสดง ประกอบด้วย เพลงรำและระบำ เพลงดำเนินเรื่องและเพลงประกอบอารมณ์และบรรยากาศ 5) เครื่องแต่งกายออกแบบสร้างตามรูปแบบศิลปะขอมและชนชาวชอง 6) เวทีและฉาก จำลองโบราณสถานเมืองเพนียด อุปกรณ์ประกอบการแสดงประเภทอาวุธและเครื่องสูงออกแบบสร้างตามศิลปะขอม ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในวิถีชีวิตเป็นไปตามรูปแบบชาวชอง และ 7) การออกแบบเทคนิคสื่อผสม ใช้มัลติมิเดียกราฟฟิกในการสร้างจินตภาพประกอบ การแสดง นำเสนอผลงานสู่สาธารณชนได้รับผลการประเมินในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.90
Article Details
References
คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง. (2564). ผี-พราหมณ์-พุทธ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 แหล่งที่มา: https://www.matichonweekly.com/religion/article_447614.
ชิน อยู่ดี. (2517). รวมเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายวิชาการนักศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปฐม หงส์สุวรรณ. (2562). ผู้หญิงในเรื่องเล่าตำนานพื้นเมืองเวียดนาม กับการประกอบสร้างสังคมมาตาธิปไตย.วารสารพื้นถิ่นโขง ชี มูล ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์ถิ่นอีสาน สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 5 (1), 1-2.
ลักขณา แสงแดง. (2557). นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในการแสดงแสงเสียงประกอบจินตภาพ เรื่อง วังลดาวัลย์อดีต อันรุ่งเรืองสู่ปัจจุบันอันรุ่งโรจน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย. ภาควิชานาฏยศิลป์. คณะศิลปกรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย.
วิลาสินี น้อยครบุรี. (2560). การจัดการแสดง แสง เสียง ชุดพนมรุ้งมหาเทวาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. สาขานาฏยศิลป์ไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิศปัตย์ ชัยช่วย. (2551). ความสำคัญของบทการแสดงแสง และ เสียง. วารสารดำรงวิชาการ คณะโบราณคดี มหาลัยศิลปากร. 7 (1), 77-94
วิศปัตย์ ชัยช่วย. (2557). กระบวนการสร้างสรรค์บทการแสดง ประกอบแสง เสียง เรื่อง อุรังคธาตุปกรณัม วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6 (1), 130-155
ศิลปวัฒนธรรม. (2546). ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท มติชนจำกัด (มหาชน).
สุภัทรดิศ ดิศกุล,หม่อมเจ้า. (2547). ศาสนาพราหมณ์ ในอาณาจักรขอม.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).