การจัดการเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีสถานภาพโสดในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการจัดการเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสถานภาพโสดในเขตกรุงเทพมหานครมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพของผู้สูงอายุสถานภาพโสดในกรุงเทพมหานคร และศึกษาปัจจัยด้านการเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสถานภาพโสดในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบสอบถามจากตัวแทนผู้สูงอายุสถานภาพโสดในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครซี่และมอร์แกน และใช้การสุ่มโดยอาศัยความน่าจะเป็นแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุสถานภาพโสดให้ระดับปัจจัยด้านการเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านสังคม ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสุขภาพ ตามลำดับ และปัจจัยด้านการเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในด้านสุขภาพส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสถานภาพโสดในกรุงเทพมหานคร ส่วนปัจจัยด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ไม่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสถานภาพโสดในกรุงเทพมหานคร ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุสามารถนำไปกำหนดนโยบายบูรณาการบริการที่ครอบคลุมทั้งด้านจิตใจและการเตรียมความพร้อม เช่น การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ และองค์กรเอกชน
Article Details
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สถิติจำนวนผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ขวัญสุดา บุญทศ และขนิษฐา นันทบุตร. (2560). ความสุข ความทุกข์ และสุขภาพจิตผู้งอายุในชุมชนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 62 (3), 257 - 270.
จิรัชยา เคล้าดี สุภชัย นาคสุวรรณ์ และจักรวาล สุขไมตรี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์. 15 (1), 27 – 32.
จันทร์ทิรา เจียรณัย. (2557). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการผันแปรออกซิเจนและการระบายอากาศ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ปริญญา สัตตะบุตร, รัชนีกร โชติชัยสถิตย์ และสุนิสา จุ้ยม่วงศรี. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกับปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัวในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 6 (3), 17 – 32.
พัชราภรณ์ พัฒนะ. (2561). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดสระบุรี. การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงวัยไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุริชัย หวันแก้ว. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานผลเบื้องต้นสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
อัจฉรา สระวาสี, ทิพพาศรี อินทะกูล และประทวน มูลหล้า. (2561). การพัฒนารูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารการศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 4 (2), 217 – 231.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607 – 610.
Schalock, L. R. (2004). The concept of quality of life: what we know and do not know. Journal of Intellectual Disability Research. 48 (3),203-216.
UNESCO. (1978). Indicators of Environmental Quality and Quality of Life. Paris:UNESCO
World Health Organization. (2002). Partners inLife SkillsEducation. Geneva: WHO.