รูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนประเภทการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร เขตภาคเหนือตอนบน สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Main Article Content

ณัฐนิช รักขติวงศ์
นิตยา วงศ์ยศ
สถาพร แสงสุโพธิ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาความสำคัญทุนทางสังคม ความสามารถทางการตลาด นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ภาวะผู้นำ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของวิสาหกิจชุมชนประเภทการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร ในเขตภาคเหนือตอนบน (2) เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ของทุนทางสังคม ความสามารถทางการตลาด นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ภาวะผู้นำ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของวิสาหกิจชุมชนประเภทการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารในเขตภาคเหนือตอนบน (3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนประเภทการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารในเขตภาคเหนือตอนบน สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนประเภทการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร เขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 400 คน การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามทำการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม AMOS และการสัมภาษณ์เชิงลึกในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 24 คน วิเคราะห์เชิงเนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็น ด้านภาวะผู้นำ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทุนทางสังคม  ด้านความสามารถทางการตลาด ด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก ด้านเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อยู่ในระดับมาก (2) ผลการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ พบว่า ทุนทางสังคมมีผลทางตรงต่อความสามารถทางการตลาดมากที่สุด (3) รูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนประเภทการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร ทำให้ทฤษฎีที่ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหาและข้อมูลสารสนเทศของทฤษฎีฐานราก คือ รูปแบบที่เหมาะสมมีกระบวนการจัดการตามแบบวิสาหกิจชุมชน Community Enterprise “ BCG SMILES”  เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). คู่มือการดำเนินกิจการวิสาหกิจชุมชน. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมส่งเสริมการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2566). สรุปจํานวนวิสาหกิจชุมชนและ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่อนุมัติการจดทะเบียน ณ วันที่ 1 มกราคม 2566 กองส่งเสริม วิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.m-society.go.th/article_ attach/18750/ 20435.pd

ชาติชาย คงเพ็ชรดิษฐ์ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การบริหารการเปลี่ยนแปลง: บทบาทของภาวะผู้นำและการสื่อสารในองค์การ. Veridian E-Journal,Silpakorn University. 9 (1), 895-919.

ชุติมันต์ สะลอง. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและบทบาทของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจชุมชนด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 6 (1), 24-36.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2558). “ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ” แบบภาวะผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11 (2), 23-35.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2560). บริหารอย่างไรให้ได้ใจคน: ศิลปะการบริหารสำหรับคนเป็นผู้นำ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 7 (1), 36-44.

ภัทร จองถวัลย์, เฉลิมพล จตุพร และ อภิญญา วนเศรษฐ. (2563). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มประเทศอาเซียน. Journal of Modern Learning Development. 6 (1), 118 -129.

ไมตรี อินเตรียะ. (2560). ทุนทางสังคม. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. 9 (2), 14-25.

รุ่งแก้ว พุ่มโพธิ์ และ เสาวลักษณ์ นัทธีศรี. (2022). ปัจจัยนวัตกรรมการตลาดที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีในตราสินค้า สำหรับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อของบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. APHEIT JOURNAL. 28 (1), 69–79.

สนิทเดช จินตนา และธีพงษ์ ภูริปาณิก. (2562). ปัญหา ข้อจำกัด และแนวทางในการสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย มหาวิทยาลัยบูรพา. 12 (3), 179-194.

เสรี วงษ์มณฑา. (2558). กระบวนการบริหารการตลาดและการสื่อสารการตลาด. วารสารมหาวิทยาลับราชภัฏบุรีรัมย์. 7 (2). 1-14.

Comrey, AL.,& Lee, HB. (1992). A first course in factor analysis. (2 nd ed.) Hillsdale: Lawrence Erlbaum Associates.

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of psychological testing. (3rd ed). New York : Harper & Row.

Likert, R. (1970). Likert technique for attitude measurement. Archives of Psychology. 140, 1-55 (whole no.). Excerpt reprinted in W.S. Sahakian (Ed.) Social psychology.

Yin, R. K. (2003). Case study research: Design and methods (3rd ed). Thousand Oaks, CA: Sage.