คุณภาพการบริการที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของผู้สูงอายุ ที่มีต่อการให้บริการที่มีคุณภาพ: ศึกษากรณี ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต และส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริการที่เป็นอยู่ในสถานที่ให้บริการกับคุณภาพการบริการที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของผู้สูงอายุที่มีต่อการให้บริการที่มีคุณภาพของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรผู้สูงอายุที่มารับบริการที่ ศพอส. ทั้งหมด 26 แห่ง จำนวน 390 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามคุณภาพการบริการของ ศพอส. ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพการบริการที่เป็นอยู่ของ ศพอส. ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.34, S.D. = 0.74) โดยด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการเป็นด้านที่มีคุณภาพการบริการสูงสุด ( = 3.65, S.D. = 0.82) และด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการเป็นด้านที่มีคุณภาพการบริการต่ำสุด ( = 2.94, S.D. = 0.95) ส่วนคุณภาพการบริการที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.87, S.D. = 0.22) โดยด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการเป็นด้านที่มีคุณภาพการบริการที่พึงประสงค์สูงสุด ( = 4.89, S.D. = 0.24) และด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ในบริการเป็นด้านที่มีคุณภาพการบริการที่พึงประสงค์ต่ำสุด ( = 4.78, S.D. = 0.38) สำหรับความต้องการจำเป็นในการให้บริการที่มีคุณภาพของ ศพอส. ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาพรวมมีค่าความต้องการจำเป็น PNI Modified = 0.46 โดยด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการเป็นด้านที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการบริการมากที่สุด (PNI Modified = 0.66) และด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการเป็นด้านที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการบริการน้อยที่สุด (PNI Modified = 0.34)
Article Details
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2558). คู่มือการดำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ. กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). ศพอส.ดีเด่น ประจำปี 2565. กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566. แหล่งที่มา: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2449
กรมการปกครอง. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566. แหล่งที่มา: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage.
จำรัส พูลเกื้อ และยุทธชัย ฮารีบิน. (2566). แนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการสู่ความเป็นเลิศ กรณีศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14, 1919 – 1932.
นันทิกานต์ แก้วไทรนันท์. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของฝ่ายยุทธศาสตร์และประสานงานวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปิยากร หวังมหาพร, สากล พรหมสถิต, นงนาถ หวังเทพอนุเคราะห์, สุจินต์สะพัด ศิริบูรณ์, ยศวัฒน์ กิจมานะวัฒน์, และวีรวัฒน์ วะชุม (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 8 (1), 33 – 41.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
สมคิด ดวงจักร์ และชัชวาล แอร่มหล้า (2566). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Journal of Administrative and Management Innovation. 11 (2), 1 – 11.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์ . (2557). สวัสดิการของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 7 (1), 73 – 82.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์ . (2559). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 9 (1), 121 – 127.
สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Best, J. W. (1981). Research in education. New Jersey: Prentice-Hall.
Cronbach, L. J. (1978). Essentials of Psychological Test. New York: Harper Collins.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607–610.
Lovelock, C. H. (1996). Services Marketing. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Parasuraman, A., Berry, L. L. & Zeithaml, V. A. (1990). Delivering quality service: Balancing Customer perceptions and expectations. New York: The free press.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2, 49-60.
United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. (2022). World Population Prospects 2022: Summary of Results. UN DESA/POP/2022/TR/NO. 3.