แนวทางการสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในประเทศไทยอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ปุณณภัสสร สุนทรธีรสุทธิ์
ชลธิศ ดาราวงษ์
รมิดา วงษ์เวทวณิชย์

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและพัฒนาความยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนจากองค์กรและนักท่องเที่ยว ผู้ให้ข้อมูลหลักมีจำนวน 24 คน ได้แก่ ตัวแทนจากหน่วยงานราชการ จำนวน 5 คน  ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จำนวน 5 คน และนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จำนวน 14 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงในการเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก และนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อค้นหาปัจจัยความสำเร็จและพัฒนาแนวทางความยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย
            ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทยประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีความหลากหลายและคุณภาพสูง และการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2566). โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2567.แหล่งที่มา: https://elchm.ssru.ac.th/benjaporn_ya/ pluginfile.php/40/block_html/content/.TIH%201413_THAILAND%20HOLISTIC27.11.66-Final.pdf

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2567). เปิด 10 อันดับจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เยี่ยมเยือนมาสุด ปี 2566. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/ general/news-1564735

ขวัญชนก สุวรรณพงศ์. (2566). อิทธิพลของแรงจูงใจและการรับรู้องค์ประกอบการท่องเที่ยว ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของ นักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 14 (1), 308 – 330.

ณัฐนนท์ ศรีอินทราวานิช, จุฑามาส ชมผา และ กุลวดี ละม้ายจีน. (2565). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อเชื่อมโยงในการพัฒนาสู่กลุ่มจังหวัดราชธานีศรีโสธร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 10 (2), 2202 – 2214.

ดวงพร พุทธวงค์ ฐิติมา พูลเพชร และ นฤมล จิตรเอื้อ. (2566). รูปแบบการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชลบุรี. วารสารจันทรเกษมสาร. 29 (2), 254-269.

ปัทมพร อิ่มวิทยา และ ศรัญญา กันตะบุตร. (2564). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยเจเนอเรชันวายต่อการท่องเที่ยว เชิงส่งเสริมสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 7 (3), 296 – 303.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนท์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2558). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต. 3 (2), 31-48.

ปฏิมาศ เสริฐเลิศ. (2562). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทางวัฒนธรรม บ้านโนนน้ำเกลี้ยง อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานการวิจัย. คณะวิทยาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พัทธ์ธิดา คชทรัพย์. (2565). แรงจูงใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรรณรัตน์ บุญกว้าง. (2562). กลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัย. คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ภูริตา บุญล้อม. (2565). ส่องเทรนด์ Wellness Tourism การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เที่ยวอย่างไรให้ได้สุขภาพดี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: https://thestandard.co/wellness-tourism/

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงเทพ. (2566). เมื่อโลกปรับ-คนเปลี่ยน ส่องทิศทาง Wellness Economy โอกาสเติบโตธุรกิจไทยในตลาด Health & Wellness Tourism. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/en/23-5sme1-wellness-economy-opportunity-to-grow-thai-business

หิรัญญา กลางนุรักษ์ และเกิดศิริ เจริญวิศาล. (2566). ศักยภาพในการรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดภูเก็ต Phuket's Potential for Wellness Tourism. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 7 (1), 182-192.

อภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ. (2566). ททท.เปิด 10 เทรนด์เวลเนสโลก หลังโควิด-19 โอกาสผู้ประกอบการไทย.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.thansettakij.com/

business/tourism/565555

Dharawanij, N. (2023). The Ways to Promote Wellness Tourism in Muang District, Chachoengsao Province. International of journal professional business review. 8 (12), 1-7.

Krippendorff, K. (2004). Content Analysis: An Introduction to Its Methodology. (2nd ed.). Thousand Oaks: CA: Sage Publications.

Neuendorf, K. A. (2002). The Content Analysis Guidebook. Thousand Oaks: CA Sage Publications.

Pike, S. (2020). Destination Marketing: Essentials. 3rd Ed. London: Routledge

Seidman, I. (2019). Interviewing as Qualitative Research: A Guide for Researchers in Education and the Social Sciences. New York: Teachers College Press.

Weerakit, N. & Tkachuk, A. (2024). Motive based segmentation of the wellness tourism market. International Journal of Spa and Wellness. 1-14.