การพัฒนาคู่มือฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการขนมไทยเบื้องต้นสำหรับบุคลากร วิทยาลัยสารพัดช่างแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการขนมไทยเบื้องต้น 2) พัฒนาคู่มือฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการขนมไทยเบื้องต้นสำหรับบุคลากรวิทยาลัยสารพัดช่างแพร่ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการใช้คู่มือฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการขนมไทยเบื้องต้น กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูพิเศษที่สอนในวิทยาลัยสารพัดช่างแพร่ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 15 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม คู่มือฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการขนมไทยเบื้องต้น แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือ แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าคู่มือฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการขนมไทยเบื้องต้นสำหรับบุคลากรวิทยาลัยสารพัดช่างแพร่ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คำชี้แจงการใช้คู่มือและวัตถุประสงค์ของคู่มือ ส่วนที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับขนมไทย ส่วนที่ 3 ฝึกปฏิบัติการทำขนมไทยในแต่ละประเภทตามกรรมวิธีการหุงต้ม ส่วนที่ 4 การประเมินผล และผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือ พบว่า มีความเหมาะสมด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านการใช้ภาษา และด้านการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านรูปเล่มอยู่ในระดับปานกลาง และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้คู่มือ พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กระทรวงวัฒนธรรม. (2566). แผนพัฒนา Soft Power ปี 2566-2570. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2566. แหล่งที่มา: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/72896
เกศกมล ทองจีน, มัทนียา พงศ์สุวรรณ และโสภณ เพ็ชรพวง. (2566). การพัฒนาคู่มือครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องด้านการคิดคำนวณ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 . วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 8 (1), 779-791.
จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง. (2562) การพัฒนาคู่มือฝึกอบรมทักษะอาชีพสำหรับผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8 (1), 31-41.
ชลธาร สมาธิ, สมเกตุ อุทธโยธา และบุญเลิศ คำปัน. (2566). การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารบัณฑิตวิจัย. 9 (1), 149-165.
ธีรพล ยั่งยืน. (2561). การใช้ประโยชน์กับความพึงพอใจและพฤติกรรมผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
บุษบา หินเธาว์ และคณะ. (2565). การพัฒนาคู่มือการทำมะขามแช่อิ่มเพื่อศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านปากน้ำปอย ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 4 (1), 121-137.
พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2558). แนวคิดการจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูมและคณะฉบับปรับปรุง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 3 (2), 13-25.
ยุทธ์ ไกยวรรณ์. (2545). พื้นฐานการวิจัย ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
สุนิสา พุตพันมาต. (2560). เอกสารประกอบการสอนวิชาขนมไทยเบื้องต้น. วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม, สมุทรสงคราม (อัดสำเนา).
สุมาลี สังข์ศรี. (2553). การเขียนคู่มือ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สุรพันธ์ สุวรรศรี และเอี่ยม อามาตย์มุลตรี. (2565). การสร้างและพัฒนาคู่มือพัฒนาจิตเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของคนในครอบครัวตามแนวพุทธศาสนา. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6 (2), 398-409.
สุเทพ ไชยวุฒิ. (2560). การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการงานวิชาการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Bloom, B.J. (Ed.), Engelhart, M.D., Furst, E.J., Hill, W.H. and Krathwohl, D.R. (1956). Taxonomy of Educational Objectives : Handbook I : Cognitive Domain. New York : David McKay.
Wang. Y, Huang. Q, Davison. R.M, Yang. F. (2021) Role stressors, job satisfaction, and employee creativity: The cross-level moderating role of social media use within teams, Information & Management. 58 (3), https://doi.org/10.1016/j.im.2020.103317