การจัดการความรู้การปลูกพลูและส่งเสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพลู ตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการความรู้การปลูกพลูและส่งเสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพลู ต.สนามชัย อ.สทิงพระ จ.สงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดการองค์ความรู้การปลูกพลู 2) ส่งเสริมศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพลู เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพลู จำนวน 26 คน คัดเลือกด้วยวิธีแบบเจาะจง เครื่องมือใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูล ด้วยวิธีการประชุมกลุ่มย่อย การระดมสมอง และการจัดการความรู้ ในรูปแบบบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ความรู้การปลูกพลูเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ซึ่งสืบทอดต่อกันมาโดยไม่ได้รับการพัฒนาและมีการแลกเปลี่ยนความรู้เฉพาะในกลุ่มเครือญาติ ในส่วนการจัดการวิสาหกิจชุมชน สมาชิกมีความรู้ไม่เพียงพอต่อการบริหารงานของกลุ่ม การบริหารของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพลูจึงขาดความเป็นระบบ สมาชิกยังขาดแรงจูงใจในการเข้ากลุ่ม และจากการบูรณาการศาสตร์ด้านการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การศึกษาได้พบแนวทางส่งเสริมศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพลู ดังนี้ 1) ควรกระจายความรู้ด้วยการจัดการความรู้อย่าง เป็นระบบและบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร 2) เผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ไปยังผู้ปลูกพลูและผู้สนใจ คนรุ่นใหม่ 3) สร้างศูนย์รวมความรู้และทักษะการปลูกพลูในชุมชน และ 4) ให้ความรู้กระบวนการจัดการกลุ่มแก่คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน ผลการศึกษานอกจากจะทำให้สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนและผู้สนใจในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการจัดการองค์ความรู้การปลูกพลูเพื่อสืบสานภูมิปัญญาของบรรพบุรุษและอาชีพปลูกพลูให้คงอยู่ต่อไปแล้ว ยังทำให้วิสาหกิจชุมชนมีแนวทางพัฒนาตนเองได้อีกด้วย
Article Details
References
เขมิกา สงวนพวก และ จิตรลดา รอดพลอย. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพวิสาหกจิชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านในตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 4 (3), 64-84.
คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ (2566). บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งที่มา: http://www.lpnh.go.th/newlp/w pconte nt/upload s/2013/10/ nle m2016_announcement_r atchakitcha120459_20160412.
จุฑาธิป ประดิพัทธ์นฤมล, หนึ่งฤทัย ศรีสุกใส, สุดารัตน์ รัตนพงษ์ และ นันทพัทธ์ คดคง. (2564). การจัดการความรู้และส่งเสริมศักยภาพเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษา ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 4 (3), 13-29.
ชนนิษฐ์ ชูพยัคฆ์. (2566). พลู: องค์ความรู้จากงานวิจัยและการประยุกต์ใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.
ชุติพงศ์ คงสันเทียะ, ระพีพรรณ จันทรสา, กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์, ณัฏฐานุช เมฆรา และ จุรีรัตน์ ทวยสม. (2566). การจัดการองค์ความรู้เพื่อการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน: การประดิษฐ์พวงมโหตร (พวงมาลัยอีสาน). วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล. 12 (1), 1-15.
ไทยโรจน์ พวงมณี, อรนุช แสงสุข, นัยนา อรรจนาทร และคชสีห์ เจริญสุข. (2566). การจัดการความรู้ใน ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทดและหัตถกรรมจากเสื่อกกของวิสาหกิจชุมชน บ้านห้วยตาด จังหวัดเลย. วารสารสหวิทยาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6 (5), 2369-2387.
นินธนา เอี่ยมสะอาด และคณะ. (2562). การจัดการความรู้เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับสมุนไพรไทย ในตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารศรีปทุม ชลบุรี. 15 (4), 47-56.
บุษรา สร้อยระย้า, กีรติญา สอนเนย, อุทัยวรรณ ฉัตรธง, ศรีไพร พรมชาติ และ จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง. (2567). การส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายด้วยกระบวนการจัดการความรู้ จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Roi Kaensarn Academi. 9 (1), 306-323.
ปิยพัทธ์ หีบแก้ว และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2563). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนร้านรุ่งตะวันสมุนไพร ตำบลห้วยม่วง อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น. วารสารบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4 (2), 267-280.
พจนก กาญจนจันทร. (2563). กินพลู เชี่ยนหมาก ปากแดง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา https://museum.socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2020/04.
วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย, ธงชัย พงษ์สิทธิกาญจนา, พงษ์สันติ์ ตันหยง, นรุตม์ โตโพธิ์ไทย และชนพงษ์ อาภรณ์พิศาล (2560). แนวทางการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมสําหรับเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ จังหวัดนครปฐม. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 9. 26-29 กันยายน 2560. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร และ กุมารี ลาภอาภรณ์. (2559). กระบวนการจัดการความรู้ผ่านการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญา ท้องถิ่นของชุมชนฮากกาออนไลน์: ความสําเร็จและความท้าทาย . วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 35 (1), 203-225.
อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์, พิศรวัส ภู่ทอง และมนศักดิ์ มหิงษ์. (2563). แนวทางเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสระแก้ว ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุชน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนจักสานและผ้าทอ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 12 (23), 125-136.
อุทัย อันพิมพ์, สุวิทย์ โสภาพล, รินทร์ลภัส ชัยหิรัญกิตติ์ และ ชริดา ปุกหุต. (2560). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาเห็ดพื้นบ้านของชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8 (2), 156-176.
อธิภัทร สินทรโก, อัตติยาพร ไชยฤทธิ์ และ นพพร ขุนค้า. (2563). การจัดการความรู้ของกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนผู้ผลิตมะม่วงส่งออกอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ. 2 (1), 128-141.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). รายงานสถานการณ์การปลูกพลู ปี 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: http://www.agriinfo.doae.go.th/ year63/plant/rortor/herb/%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%A5.pdf
สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ. (2561). วัฒนธรรมการกินหมากในสังคมไทยสมัยก่อน. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10. 29-30 มีนาคม 2561. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
โสพิศ โพธิสุวรรณ. (2543). การศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมการทำสวนพลูปากหรามกับพลูวังโหล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ
Kotas, M. (2015). Key success factors for social services organizations in Poland.Online. Retrieved May 1, 2024. from: https://www.researchgate.net/ publication/290522621 _Key_success_factors_for_social_services_organizations_in_Poland_Kluczowe_czynniki_sukcesu_osrodkow_pomocy_spolecznej_w_Polsce
Singh, T., Singh, P., Pandey, V. K., Singh, R., & Dar, A. H. (2023). A literature review on bioactive properties of betel leaf (Piper betel L.) and its applicationsinfood industry. Food Chemistry Advances, 3 (100536), 1-11.