ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ : สมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูระดับประถมศึกษา

Main Article Content

ปิ่นมุก เสนาดิสัย
บุญมี เณรยอด
สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา

บทคัดย่อ

          บทความนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดของสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา และกระบวนการบริหารชุมชมแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ผลการศึกษา พบว่า สมรรถนะ หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการนำความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในงาน หรือในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งแสดงออกทางพฤติกรรม การปฏิบัติที่สามารถวัดและประเมินผลได้ที่ทำให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ประสบความสำเร็จในการทำงาน การจัดการเรียนรู้เชิงรุก หมายถึง  การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว เพื่อจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงอย่างรอบด้าน ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ สมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา หมายถึง ความสามารถของครูผู้สอนในระดับประถมศึกษา ที่แสดงออกทางพฤติกรรมโดยมีการประยุกต์หรือบูรณาการจาก ความรู้ ทักษะ และ เจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ หมายถึง การรวมกลุ่มกันของผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาในลักษณะของชุมชนเชิงวิชาการที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ การถอดบทเรียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่อง กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ คือ กระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลที่มารวมกันเพื่อทำงานร่วมกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีองค์ประกอบ 3 ระดับ และ 5 ขั้นตอนในการเสริมสร้างชุมชุนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จากผลการศึกษานี้ทำให้เกิดกรอบแนวคิดการวิจัย ที่จะนำไปสู่การวิจัยและพัฒนากระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวง ศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (29 ธันวาคม 2564).

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้ เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข.(2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง กับ PLC เพื่อการพัฒนา.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2567). คู่มือการใช้ (ร่าง)กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ..ระดับประถมศึกษา (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). สรุปการประชุมแผนพัฒนาการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจหลักสูตร ฐานสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา กรุงเทพมหานคร: สกศ .

สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา (2556). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2562 แหล่งที่มา: http://youtube.com.

Bolam, R.,Mcmahon,A.,Stoll,L.,Thomas,S.,Wallace,M.,Greenwood,A., Hawkey,K.,Ingram, M., Atkinson, A. and Smoth, M. (2005). Creating and Sustaining Effective Professional Learning Communities. London : University of Bristol.

Dufour, R., Dufour, R., Eaker, R., & Many, T. (2010).Learning by doing: A handbook for Professional learning communities at work (2nd ed.). Bloomington, IN: Solution Tree.

RILEY, R. W. (1995). Connecting Classrooms, Computers, and Communities. Issues in Science and Technology, 12 (2), 49–52. http://www.jstor.org/stable/43311510

OECD (2018). The Future of Education and Skills: Education 2030. Position paper, https://www.oecd.org/education/2030/E2030%20Position%20Paper%20(05.04.2018).pdf.

OECD (2021). Conceptual learning framework : Transformative Competencies for 2030. Position paper, https://www.oecd.org/education/2030-project/teaching-and-learning/learning/transformative-competencies/Transformative_Competencies _for_2030_concept_note.pdf.

McClelland, D. C. (1993). Testing for competence rather than intelligence. American Psychologist, 28 (1), 1-14.

Kyriakides, L., Campbell, R. J., & Christofidou, E. (2002). Generating criteria for measuring teacher effectiveness through a self-evaluation approach: A complementary way of measuring teacher effectiveness. School Effectiveness and School Improvement, 13 (3), 291–325. https://doi.org/10.1076/sesi.13.3.291.3426

SEAMEO innotech. (2019). Southeast Asia Teachers Competency Framework (SEA-TCF) Onpa Co., Ltd, Teacher Professional Development Institute.

Senge, P. (1990).The Fifth Discipline: The Art and Practice of The Learning Organization. New York: Doubleday.

Stoll, L., Bolam, R., McMahon, A. J., Wallace, M., & Thomas, S. M. (2006).Professional learning communities: A review of the literature. Journal of Educational Change, 7 (4), 221-258.