การออกแบบและพัฒนาชุดการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขนาดเล็ก

Main Article Content

สุพิชญา จับมั่น
ปวีณา ขันธ์ศิลา
อนุชา พิมศักดิ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและประสบการณ์ของครูผู้สอนวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น 2)ออกแบบและพัฒนาชุดการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น และ 3) ศึกษาผลการใช้ชุดการเรียนรู้จากประสบการณ์ การวิจัยครั้งนี้แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์และสำรวจ ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนา และระยะที่ 3 การประเมินและสะท้อนคิด กลุ่มตัวอย่างการวิจัยระยะที่ 1 คือ ครูผู้สอนรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) ในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 จำนวน 40 คน และนักเรียนจำนวน 57 คน และกลุ่มตัวอย่างระยะที่ 3 คือ โรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 4 โรงเรียน และนักเรียนจำนวน 73 คน ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 9 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความต้องการจำเป็นและประสบการณ์การสอนของครูและนักเรียน แบบสนทนากลุ่ม คู่มือชุดการเรียนรู้จากประสบการณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที
          จากผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความต้องการสื่อการสอน และชุดการเรียนการสอนในการจัดการเรียนการสอน 2) ผู้วิจัยได้ออกแบบชุดการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย 6 กิจกรรม และ 3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้จากประสบการณ์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของครูต่อกิจกรรมในชุดการเรียนรู้จากประสบการณ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.50,  S.D. = 0.56) และนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.54,  S.D. = 0.64)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กาญจนา หีดชนา และคณะ. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สร้างสรรค์งานศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ตามรูปแบบการสอนของแฮร์โรว์ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน อําเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8 (11), 207-220.

ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว, ประวิทย์ สิมมาทัน, และกนก สมะวรรธนะ. (2559). รูปแบบการเรียนรู้แบบเปิดตามแนวคิดคอนเน็คติวิสต์ซึม เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 3 (1), 45-63.

เขมจิรา บุญทวี. (2565). การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง หลักการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ โดยใช้ชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาจุฬาตานี ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 4 (7), 44-51.

ช่อรัก วงศ์สวรรค์, กิตติมา พันธ์พฤกษา, และเชษฐ์ ศิริสวัสดิ์. (2564). ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเรื่อง พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. 18 (2), 123-139.

นุชนารถ สมวาที. (2560). การพัฒนาชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่องทัศนธาตุสู่การสร้างสรรค์สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. รายงานการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปองพล ชนิกกุล, ดาราวรรณ ประเสริฐศรี, และพิมพ์พร สุวรรณราช. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 17 (3), 60-68.

ภัทราภรณ์ อู่ไพบูรณ์. (2565). การสร้างสรรค์ความคิดสร้างสรรค์: นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. วารสารดนตรีและวัฒนธรรม. 1 (1), 1-11.

วทัญญู สารปรัง, อัญญปารย์ ศิลปะนิลมาลย์, & วรรณธิดา ยลวิลาศ. (2567). การศึกษาความต้องการพัฒนา ทักษะการคิดเชิงคำนวณใน รายวิชาวิทยาการคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และนวัตกรรมมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 3 (1), 52-67.

วีรพล สิมพิลา, สายหยุด ภูปุย, และวรรณธิดา ยลวิลาศ (2567). การศึกษาสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นจากประสบการณ์ผู้ใช้ในรายวิชาการวัดละเอียดเพื่อพัฒนาทักษะของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และนวัตกรรมมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 3 (1), 40-51.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2562). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สุภา ใสสาร, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม และ ชารี มณีศรี. (2564). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ หน่วยสร้างสรรค์งานศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมในการสอนแบบ (CIPPA CODEL). วารสารมจรอุบลปริทรรศน์. 6 (2), 193-206.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2563). การวิจัยการออกแบบทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Csikszentmihalyi, M. (1997). Creativity: Flow and the psychology of discovery and invention. HarperPerennial. New York, 39, 1-16.

Florida, R. (2019). The rise of the creative class. Basic books.

Kolb, D.A. (2014).Experiential learning: Experience as the source of learning and development. FT press.

OECD. (2019). PISA 2021 Creative Thinking Framework.

OECD. (2021). PISA 2022 Creative Thinking Assessment.

Saavedra, A. R., & Opfer, V. D. (2012). Learning 21st-century skills requires 21st-century teaching. Phi Delta Kappan, 94 (2), 8-13.

Sternberg, R. J., & Lubart, T. I. (1999). The concept of creativity: Prospects and paradigms. Handbook of creativity, 1 (3-15)